องค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีขั้นตอนดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันองค์ประกอบ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และแปรผลจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การสร้างภาวะผู้นำตนเอง (2) การเป็นแบบอย่างภาวะผู้นำตนเอง (3) การตั้งเป้าหมายและวิสัยทัศน์ (4) การสร้างพลังทางบวก (5) การสนับสนุนและเสริมแรง และ (6) การสร้างวัฒนธรรมภาวะผู้นำตนเอง และ 2) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากการยืนยันของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า องค์ประกอบที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้รายด้านในระดับมากไปน้อยเรียงตามลำดับ ได้แก่ (1) การสร้างภาวะผู้นำตนเอง ( =4.80) (2) การเป็นแบบอย่างภาวะผู้นำตนเอง ( =4.80) (3) การสร้างพลังทางบวก ( =4.80) (4) การสนับสนุนและเสริมแรง ( =4.80) (5) การตั้งเป้าหมายและวิสัยทัศน์ ( =4.60) และ (6) การสร้างวัฒนธรรมภาวะผู้นำตนเอง ( =4.60)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2561). SUPER LEADERSHIP: สุดยอดภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ซัคเซส พับลิซซิ่ง.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2558). “ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ” แบบภาวะผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 23-35.
พิชญาภา ยืนยาว. (2560). รูปแบบการเรียนการสอนแบบบันเทิงของนักศึกษามหาวิทยาราชภัฏนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 904-920.
ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดอภิปัญญาโยนิโสมนสิการและชุมชนการเรียนรู้แบบร่วมงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาครูระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, 9(25), 235-244.
ยุทธนา ไชยจูกุลและประทีป จินงี่. (2560). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิเคราะห์พฤติกรรมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ.
วรเทพ ภูมิภักดีพรรณ. (2550). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เศกสรรค์ ปัญญาแก้ว. (2558). ภาวะผู้นำสร้างผู้นำ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 3(9), 1-15.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564. กลุ่มนโยบายและแผน. เอกสารหมายเลข 4/2565. (อัดสำเนา).
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ: ศาสตร์และศิลป์สู่การเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.
สุรศักดิ์ ศุภเมธีวรกุล. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Manz, C. C., & Sims, H. P. (2001). super-leadership other to lead the selves. New York: Prentice Hall.
Cristofaro, M. (2020). Core Self-Evaluations, Self-Leadership, and the Self-Serving Bias in Managerial Decision Making: A Laboratory Experiment. Italy: University of Rome ‘Tor Vergata.
Goldsby, M. G. (2021). Self-Leadership: A Four Decade Review of the Literature and Trainings. USA: Ball State University, Muncie.
Strack, G. & Fottler, M. D. (2002). Spirituality and effective leadership in healthcare: is there a connection?. Front Health Serv Manage, 18(4), 3-18.