แนวทางการบริหารห้องสมุดยุคใหม่ตามหลักราชสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารห้องสมุดยุคใหม่ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารห้องสมุดยุคใหม่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) หาแนวทางการบริหารห้องสมุดยุคใหม่ตามหลักราชสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 303 คน ด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารห้องสมุดยุคใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการบริหารห้องสมุดยุคใหม่ แตกต่างกัน จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) แนวทางการบริหารห้องสมุดยุคใหม่ตามหลักราชสังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย 3.1) ด้านผู้บริหาร ผู้บริหารควรมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ 3.2) ด้านครู บริหารควรมีการแสดงความยกย่องหรือมอบรางวัลให้แก่คณะครูที่มีความสามารถในการใช้บริการห้องสมุดให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรส่งเสริมบุคลากรให้มีการศึกษาดูงานแล้วขยายผลพัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดยุคใหม่ 3.3) ด้านนักเรียน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน และควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 3.4) ด้านทรัพยากร สารสนเทศ ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายเพื่อจัดหาและสำรวจความต้องการทรัพยากรสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง ควรมีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.5) ด้านอาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ ผู้บริหารควรสนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์และวิธีการที่มีความทันสมัยมาใช้ในกิจการห้องสมุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัณนิกา เพชรส่งศรี. (2556). ประสิทธิภาพการบริหารงานห้องสมุดตามทัศนะของบุคลากร ทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 35-42.
กิ่งใจ รัตนแสนศรีและคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานห้องสมุดโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารช่อพะยอม, 30(1), 105-117.
ฉวีวรรณ เจริญทรัพย์. (2561). การบริหารจัดการห้องสมุดและอุทยานการเรียนรู้เพื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยพิษณุโลก. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24(1), 61-69.
ชนากานต์ สิงห์เรือง. (2561). การบริหารจัดการห้องสมุดตามหลักสังคหวัตถุธรรมของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 1(3), 55-69.
พระถวิล เทวสโร (สิงห์เทพ)และคณะ. (2557). การบริหารงานตามหลักราชสังคหวัตถุ 4 ของเทศบาลตำบลโนนทอ อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี. วารสารสันติศึกษาปริทัศน์ มจร, 3(1), 71-85.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). สังคหวัตถุของผู้ครองแผ่นดิน หรือราชสังคหวัตถุ 4. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: การศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.
วรุณยุภา นาเกลือ และชัชจริยา ใบลี. (2562). แนวทางการบริหารงานตามมาตรฐานของห้องสมุดประชาชนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดหนองคาย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Madhusudan, M.R. (2008). Mending the Meltdown: Fending off the Interventions and Resurrecting the Market. (MPRA Paper 15693). Germany: University Library of Munich.
Shivakumar, A. et al. (2019). Drivers of renewable energy deployment in the EU: An analysis of past trends and projections. Energy Strategy Reviews, 26, 1-34.