การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแกะสลักผักและผลไม้ลายกุหลาบ โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแกะสลักผักและผลไม้ลายกุหลาบ โดยใช้สื่อวีดีทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เขต 1 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 80 2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน เรื่อง การแกะสลักผักและผลไม้ลายกุหลาบ โดยใช้สื่อวีดีทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เขต 1 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การแกะสลักผักและผลไม้ลายกุหลาบ โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลมะนัง อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) บทเรียน (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) สื่อวีดิทัศน์ (4) แบบประเมินทักษะ (5) แบบทดสอบ (6) แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแกะสลักผักและผลไม้ลายกุหลาบ โดยใช้สื่อวีดีทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลมะนัง โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 88.4 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ที่เรียน เรื่อง การแกะสลักผักและผลไม้ลายกุหลาบ โดยใช้สื่อวีดีทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 75.31 และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียน เรื่อง การแกะสลักผักและผลไม้ลายกุหลาบ พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมมีคะแนนค่าเฉลี่ยรวม 2.9±0.29 อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เศณวี ฤกษ์มงคล. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(4), 80-92.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กัลยา ทองอ้วน. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบโครงงาน เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนพรรณ คงชนะ. (2564). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 63-70.
นฤนาท นามคันที. (2564). ความคิดเห็นของผู้บริโภค และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารตามสั่งในศูนย์อาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิเทศศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
บีสุดา ดาวเรือง. (2564). ผลของการเรียนด้วยระบบการเรียนแบบปรับเหมาะตามรูปแบบการเรียนรู้ VARK เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 27(2), 117-191
ประกิต ไชยธาดา. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหัวข้ออุณหพลศาสตร์เคมีและจนลพลศาสตร์เคมีในรายวิชาเคมี 2 โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและสรุปเนื้อหาบทเรียนโดยใช้แผนผังความคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(2), 12-24
พรรณี คงเงิน. (2560). การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตาคลี (ขุนตาคลีคณะกิจ) จังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านและเทคนิคการประเมินความก้าวหน้าทางการเรียน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 42-54.
พัชนี มหาโพธิ์. (2565). การพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงานอาชีพเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 6. วารสารวิจัยและพัฒนาสหวิทยาการ, 4(3), 23-35.
Miller, J.W and Brennan M. (1983). Using an English Language Teaching Videotape in the Classroom. English Language Teaching Forum, 3(3), 32-35.
Miller, R. S. (1984). The Effectiveness of Video Technology in Safety Training at an Industrial Site. (LSU Historical Dissertations and Theses). Agricultural & Mechanical College: Louisiana State University.