มาตรการทางกฎหมายในการยกระดับสถานะของสัตว์เลี้ยงภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

Main Article Content

ปาทิตรา บางสมบุญ
ธานี วรภัทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานะของสัตว์เลี้ยงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย 2) เปรียบเทียบสถานะของสัตว์เลี้ยงในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในประเทศไทยกับในต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงสถานะทางกฎหมายของสัตว์เลี้ยงภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาเกี่ยวข้องกับสถานะของสัตว์เลี้ยง พบว่า สถานะของสัตว์เลี้ยงมีสถานะเป็นเพียงทรัพย์สินโดยกฎหมายไม่ได้มองว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งมีชีวิตและมีความรู้สึก จึงทำให้เกิดปัญหาในการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยง เช่น ในกรณีที่เกิดการกระทำละเมิดเป็นเหตุให้สัตว์เลี้ยงตาย หากศาลพิจารณาว่าสัตว์เลี้ยงเป็นเพียงทรัพย์สินจึงไม่อาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนทางด้านอารมณ์ให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยง ทั้งในกรณีที่มีการหย่าร้างซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสัตว์เลี้ยง หากสถานะของสัตว์เลี้ยงเป็นเพียงทรัพย์สินศาลจะไม่ได้พิจารณาที่สวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงเป็นหลัก และนอกจากที่ได้กล่าวมายังส่งให้สัตว์เลี้ยงไม่อาจได้รับการคุ้มครองสิทธิภายใต้กฎหมายมรดก 2) สถานะของสัตว์เลี้ยงของประเทศไทยกับกฎหมายในต่างประเทศมีความแตกต่างกันโดยพบว่า ต่างประเทศให้ความสำคัญกับสถานะและการคุ้มครองสิทธิของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในสมาพันธรัฐสวิสได้มีการบัญญัติสถานะของสัตว์เลี้ยงในประมวลกฎหมายแพ่งอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายในบรรพอื่น ๆ แต่ปัญหาของประเทศไทยเกิดจากการที่สถานะของสัตว์เลี้ยงยังเป็นเพียงทรัพย์สินไม่ใช่เป็นสิ่งมีชีวิตและมีความรู้สึก จึงพบว่าประเทศไทยจำเป็นจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมสถานะของสัตว์เลี้ยงในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนของคำนิยามของสัตว์เลี้ยงโดยอาศัยแนวทางของกฎหมายต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

How to Cite
บางสมบุญ ป. ., & วรภัทร์ ธ. . (2023). มาตรการทางกฎหมายในการยกระดับสถานะของสัตว์เลี้ยงภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 119–130. https://doi.org/10.14456/jra.2023.10
บท
บทความวิจัย

References

ประพิมพ์พรรณ เงินทิพย์. (2554). เรื่องมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพ. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). นิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 381 และมาตรา 382 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22). (2558, 13 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 132 ตอนที่ 10 ก, หน้า 45.

พงค์ศักดิ์ เจ๊ะพงค์. (2564). สถานะทางกฎหมายของสัตว์เลี้ยงในกรณีการหย่าร้างภายใต้กฎหมายครอบครัว. วารสารกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 39(1), 81-93.

พระราชบัญญัติ ป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557. (2557, 26 ธันวาคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 131 ตอนที่ 87 ก, หน้า 4-13.

รัชดาวัลย์ หิรัญสาย และคณะ. (2558). การบริหารจัดการเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (รายงานการวิจัย). ออสเตรเลีย: มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์.

ศรัญญา แจ้งขำ. (2557). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ ศึกษากรณีสัตว์เลี้ยง (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน). นิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภโชค บุญเจริญ. (2556). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมจัดการมิให้สัตว์เลี้ยงตกเป็นสัตว์ไม่มีเจ้าของ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). นิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Thai PBS News. (2565). คดีแรกของไทย! ชนะคดีฟ้องหมอ-รพ.ทำสุนัขตาย. เข้าถึงได้จาก http://www2.ops3.moc.go.th

Marita Giménez-Candela. (2018).The De-Objectification of Animals in the Spanish Civil Code. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/ 3280 31716_The_De-objectification_of_Animals_in_Spanish_Civil_Code>.

Michel, M. & Kayasseh, E. S. (20011). The Legal Situation of Animals in Switzerland: Two Steps Forward, One Step Back-Many Steps to go. Journal of Animal Law, 7, 13-31.