การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่ต้องใช้การบริหารจัดการดำเนินการและแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น บทความนี้จึงต้องการนำเสนอปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขตามทฤษฎี POSDCoRB ของลูเธอร์ กูลิค ของเทศบาลตำบลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งนี้ เพราะองค์กรนี้เคยประสบปัญหาหรืออุปสรรคหลายด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน เช่น ทำงานโดยไม่มีการวางแผน 2) ด้านการจัดองค์กร เช่น มอบหมายงานไม่ตรงอำนาจหรือหน้าที่ 3) ด้านการจัดกำลังคน เช่น จัดบุคลากรปฏิบัติงานไม่ตรงความรู้ ประมาณ งาดศิลปะในรประสงค์เพื่อความสามารถ 4) ด้านการอำนวยการ เช่น การขาดศิลปะการบริหารงาน 5) ด้านการประสานงาน เช่น การไม่ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก 6) ด้านการรายงาน เช่น ไม่มีระบบการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจ และ 7) ด้านการงบประมาณ เช่น มีความล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรคดังกล่าวในองค์กร ผู้บริหารได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคทันทีตามลำดับอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ปัญหาหรืออุปสรรคลดลงและหมดไปในที่สุด โดยการใช้วิธีการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนโดยมีการจัดทำแผนรายปีเสนอล่วงหน้า 2) ด้านการจัดองค์กรโดยวางตำแหน่งงานหรือหน้าที่ให้ชัดเจน 3) ด้านการจัดกำลังคนโดยมีระบบกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงาน 4) ด้านการอำนวยการโดยจัดฝึกอบรมศิลปะการบริหารงานแก่ผู้บริหาร 5) ด้านการประสานงานโดยจัดให้มีหน่วยงานกลางรับปัญหาหรืออุปสรรคการปฏิบัติงาน 6) ด้านการรายงานโดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานปกครองท้องถิ่นกลาง และ 7) ด้านการงบประมาณโดยจัดทำระบบประเมินการเบิกจ่ายงบประมาณให้ชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เข้าถึงได้จาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp
ฐาณิศรา กาบบัวศรี. (2562). เทคนิคและกระบวนการ POSDCoRB. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 15-20.
เทศบาลตำบลพนมสารคาม. (2554). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี. ฉะเชิงเทรา: เทศบาลตำบลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. (อัดสำเนา)
พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552. (2552, 13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 126 ตอนที่ 85ก, หน้า 7.
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2476. (2476, 17 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 70 ตอนที่ 14, หน้า 222.
รัฐสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับสมุดไทย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2547). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี.
สำนักกฎหมาย. (2563). บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญเรื่อง “รัฐธรรมนูญหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น”. สารวุฒิสภา, 28(มกราคม), 21-24.
สิวาพร สุขเอียด. (2564). การปกครองส่วนท้องถิ่น. เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การปกครองส่วนท้องถิ่น