ว่าด้วยหลักนิติธรรม

Main Article Content

โกเมศ ขวัญเมือง
พระเทพปริยัติเมธี
พระครูธรรมธรสฐาพร ปภสฺสโร
สุกัญญาณัฐ อบสิณ
ไพศาล นาสุริวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิชานี้มุ่งศึกษาหลักนิติธรรม พบว่า หากพิจารณาตามแนวคิดดั้งเดิมของนักปรัชญาตะวันตก หลักนิติธรรมมีรากเหง้ามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ จากข้อถกเถียงทางความคิดที่ว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะเป็นการปกครองด้วยสิ่งใด ระหว่างราชา-นักปราชญ์หรือด้วยกฎหมายที่ดี อริสโตเติล นักปรัชญาเมธีชาวกรีกได้สรุปว่า กฎหมายที่ดีเท่านั้นควรจะเป็นผู้ปกครอง และจากบทสรุปของอริสโตเติลนี้นี่เองได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นแนวคิดของนักกฎหมายมหาชนของรัฐสมัยใหม่ในเวลาหลายพันปีต่อมา หลักนิติธรรมและการปกครองที่ดีนั้น ท่านศาสตราจารย์อัลเบิร์ต เวนน์ ไดซี่ย์ นักทฤษฎีรัฐธรรมนูญ ชาวอังกฤษ ได้นำแนวคิดของอริสโตเติลที่ว่ากฎหมายควรเป็นผู้ปกครองแทนคน โดยไดซี่ย์ใช้คำเรียกการปกครองโดยกฎหมายว่า “หลักนิติธรรม” ซึ่งคำว่าหลักนิติธรรมนี้ได้ถูกนำไปบัญญัติไว้ในข้อบังคับของสภายุโรป ค.ศ. 1949 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป ค.ศ. 1950 โดยมีการแปลคำว่าหลักนิติธรรมว่า “ความเป็นใหญ่ของกฎหมาย” ซึ่งหลักความเป็นใหญ่ของกฎหมายตามแนวคิดของไดซี่ย์นั้นยึดมั่นในหลักการสำคัญที่ว่า ไม่มีบุคคลใดอยู่เหนือกฎหมาย บุคคลทุกคนเท่าเทียมกันและทุกคนมีความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมายธรรมดา และศาลปกติจะเป็นผู้พิทักษ์สิทธิของปัจเจกชนในสิ่งที่เรียกว่า “สิ่งที่เป็นของเอกชน” ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของระบบกฎหมายจารีตประเพณี (คอมมอนลอว์) ของอังกฤษ ที่แตกต่างจากการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในระบบประมวลกฎหมายของประเทศภาคพื้นยุโรปซึ่งยึดถือหลักการที่ว่า รัฐธรรมนูญเป็นผู้พิทักษ์สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน ฉะนั้น หลักนิติธรรมและการปกครองที่ดีนั้นควรต้องให้กฎหมายอยู่สูงสุดและคนทุกคนมีความเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย โดยดำรงชีวิตอยู่ภายใต้หลักความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยคำพิพากษาของศาล

Article Details

How to Cite
ขวัญเมือง โ. ., พระเทพปริยัติเมธี, พระครูธรรมธรสฐาพร ปภสฺสโร, อบสิณ ส. ., & นาสุริวงศ์ ไ. . (2023). ว่าด้วยหลักนิติธรรม. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 355–368. https://doi.org/10.14456/jra.2023.50
บท
บทความวิชาการ

References

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. (2541). หลักนิติธรรม รวมบทความเรื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปี ศาสตราจารย์สัญญาธรรมศักดิ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2553). กฎหมายมหาชน ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

มานิตย์ จุมปาและคณะ. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา: คำอธิบายเรียงมาตราพร้อมคำพิพากษาศาลฎีกา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วิษณุ เครืองาม. (2526). เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายมหาชน หน่วยที่ 9: ปรัชญารากฐานในกฎหมาย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อมร รักษาสัตย์ และคณะ. (2543). ประชาธิปไตย อุดมการณ์ หลักการและแบบอย่างการปกครองหลายประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alexis de Tocqueville. (2563). Democracy in America / De la democratie en Amerique. (วิภาวรรณ ตุวยานนท์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

Aristotle. (1995). Politics. Oxford: Oxford University Press.

Eberstein, W. (1957). Political Thinkers. Plato to the present. New York: Holt Rinehart.

Fowler N. Harold and Lamb W.R.M., tran. (1925). Plato, with an English translation. Mass: Harvard University Press.

Lewis and Short. (1879). Latin-English Dictionary. New York: Harper and Brothers.

Raz, J. (1977). The Rule of Law and its virtue. Law Quarterly Review, 93(2), 195-211.

Shorey, P. (1939). Platonism Ancient and Modern. Studies: An Irish Quarterly Review, 3(28), 109.

Soller, E. (2006). Introduction au droit public. Paris: Dalloz.