แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล
สายสมร เมืองมูล
จันทร์เพ็ญ ตั้งจิตรเจริญกุล
จิรศักดิ์ ศรีใส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิภาพ 2) ศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ และ 3) ตรวจสอบประสิทธิผลแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประสิทธิภาพฯ ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย กลุ่มผู้ปกครอง และกลุ่มภาคีเครือข่ายฯ รวม 1,480 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพฯ ประกอบด้วย กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่มดังกล่าวของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยการ รวม 60 แห่ง รวมจำนวน 2,280 คน และกลุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบประสิทธิผลของแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพฯ จากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่มดังกล่าว รวม 1,470 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกเอกสาร แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์วางกรอบข้อมูลประยุกต์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า 1) ผลประเมินประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 60 แห่ง มีคะแนนประสิทธิภาพระหว่าง 57.08-100.00% เมื่อเปรียบเทียบคะแนนประสิทธิภาพระหว่างกลุ่มผู้ให้ข้อมูล พบว่าคะแนนประสิทธิภาพของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้ง 4 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพบว่าแต่ละแห่งต้องปรับปรุงด้วยการเพิ่มผลผลิต/ผลลัพธ์ 2-3 ปัจจัย (7.51-54.68%) ปรับลดปัจจัยป้อน 2-3 ปัจจัย (12.73-53.31%) และการนำกระบวนการ ได้แก่ การเสริมพลังอำนาจ การเป็นพี่เลี้ยง การกำกับติดตาม และการประเมินจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาใช้ในการช่วยส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) ผลจากการตรวจสอบประสิทธิผลของแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ พบว่า แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์

Article Details

How to Cite
ตั้งจิตรเจริญกุล ร., เมืองมูล ส. ., ตั้งจิตรเจริญกุล จ. ., & ศรีใส จ. . (2023). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 247–268. https://doi.org/10.14456/jra.2023.42
บท
บทความวิจัย

References

แพรทอง นะวัน. (2559). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนพัฒนาสถานศึกษาปีงบประมาณ 2554-2558 ของโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชวนคิด มะเสนะ. (2554). รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมอง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นิตยาพร ท่วมไธสง. (2556). ความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รณกร นนท์ยะโส. (2556). แนวทางการพัฒนาครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล และคณะ. (2564). การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 จากความร่วมมือของผู้มีส่วนได้เสีย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

สุธาสินี ด้วงโต้ด. (2557). แนวทางการประยุกต์ใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาสมรรถนะครูในด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

สุนัน ขันทะสิทธิ์. (2553). การศึกษาการจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2561). รายงานมาตรฐานและการประเมินศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. กรุงเทพฯ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

Ackah-Jnr, F. R., & Udah, H. (2021). Implementing Inclusive Education in Early Childhood Settings: The Interplay and Impact of Exclusion, Teacher Qualities, and Professional Development in Ghana. Journal of Educational Research and Practice, 11(1), 112-125.

Chong, S.& Lu, T. (2019). Early Childhood Teachers' Perception of the Professional Self and in Relation to the Early Childhood Communities. Australian Journal of Teacher Education, 44(7), 53-67.

Cooper, W.W., Seiford, L.M., & Tone, K. (2007). Data Envelopment Analysis: A Comprehensive Text with Models, Applications. Norwell, Mass: Kluwer Academic Publish.

Harcourt, D., & Mazzoni, V. (2010). Researching quality: Listening to children in Verona, Italy. Australasian Journal of Early Childhood, 37(2), 19-26.

Munoz, David Andres, Queupil, & Juan Pablo. (2016). Assessing the Efficiency of Secondary Schools in Chile: A Data Envelopment Analysis. Quality Assurance in Education: An International Perspective, 24(3), 306-328.

Neck, C. P., and Manz, C. C. (2010). Mastering Self-Leadership: Empowering Yourself for Personal Excellence. Upper Saddle River: Prentice Hall.

New York State Center-Based and Family Child Care Center. (2010). Education and Early Childhood Development. Retrieved from http://www.earlychildhood from:.org/standards/%20%20_%20indicator

Pakarinen, E., Lerkhanen, M-K., Poikkeus, A-M., Sidkkinen, M., & Nuirmi, J-E. (2010). Classroom organization and teacher stress predict learning motivation in kindergarten children. European Journal of Psychology of Education, 25(3), 281-300.

Shonkoff, J. P. (2010). Building a new bio-developmental framework to guide the future of early childhood policy. Child Development, 81(1), 357-367.

Skillsfuture. (2016). Skills Framework for Early Childhood Care and Education: A Guide on Occupations and Skills. Retrieved from https://www.skillsfuture.gov.sg/skills-framework/earlychildhood

Stuart, M. (2013). A trinity of saviours-parent, teacher and child: Human Capital Theory and early childhood education in New Zealand. Australasian Journal of Early Childhood, 38(4), 51-57.

Umida, K., et al. (2020). The role of information technologies improving in educational efficiency. International Multidisciplinary Research Journal, 10(3), 191-193.

Yoon-Joo Leea & Recchia, S. L. (2016). Zooming In and Out: Exploring Teacher Competencies in Inclusive Early Childhood Classrooms. Journal of Research in Childhood Education, 30(1),1-14.