การสำรวจการแสดงแทนของนักเรียนในลำดับกิจกรรมการสอนในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด

Main Article Content

มนสิชา โพธิ์เสนา
สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงแทนของนักเรียนในลำดับกิจกรรมการสอนในชั้นเรียนใช้วิธีการแบบเปิด เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องสมการ จำนวน 7 แผน แบบบันทึกภาคสนาม เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพนิ่ง เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของลำดับกิจกรรมการสอน ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับทีมการศึกษาชั้นเรียนโดยวิเคราะห์แนวคิดของนักเรียนผ่านการแสดงแทน ได้คาดการณ์แนวคิดนักเรียนเป็นการแสดงแทนโลกจริง สื่อกึ่งรูปธรรม และโลกคณิตศาสตร์ 2) การสังเกตการสอนร่วมกัน ขั้น 1 พบว่า นักเรียนได้ทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาโดยใช้ประสบการณ์จริงในการทำความเข้าใจในสถานการณ์ปัญหา ขั้นที่ 2 นักเรียนได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีการแสดงโลกจริงเปรียบเทียบสถาณการณ์ปัญหากับประสบการณ์การของตนจากนั้นลงมือแก้ปัญหา มีการใช้สื่อกึ่งรูปธรรมก่อนที่จะนําไปสู่โลกคณิตศาสตร์ที่อยู่ในรูปแบบการเขียนสมการ ขั้นที่ 3 เกิดการอภิปรายแนวคิดร่วมกันมีการใช้สื่อกึ่งรูปธรรมแสดงแนวคิดที่มีความเป็นนามธรรมทางคณิตศาสตร์ให้อยู่ในรูปแบบการแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ และขั้นที่ 4 เกิดการเชื่อมโยงแนวคิดเป็นการแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ในทุกแผนการจัดการเรียนรู้ 3) การสะท้อนบทเรียนหลังการสอนร่วมกับทีมการศึกษาชั้นเรียนมีการสะท้อนผลในประเด็นการแสดงแทนของนักเรียนและนํามาพิจารณาปรับปรุงการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีแนวคิดการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ผู้วิจัยพบว่า การสอนด้วยวิธีการแบบเปิดทำให้เกิดการแสดงแทนที่หลากหลายในชั้นเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายแนวคิดและความเข้าใจของนักเรียนผ่านรูปแบบต่าง ๆ จากสิ่งที่อยู่ในชีวิตจริงของนักเรียนไปยังสิ่งที่มีความเป็นนามธรรมทางคณิตศาสตร์

Article Details

How to Cite
โพธิ์เสนา ม. ., & ถิ่นเวียงทอง ส. . (2023). การสำรวจการแสดงแทนของนักเรียนในลำดับกิจกรรมการสอนในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 63–78. https://doi.org/10.14456/jra.2023.6
บท
บทความวิจัย

References

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ การสำหรับบุคลากรในโรงเรียน โครงการพัฒนาการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2561). การสอนทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21: การออกแบบลำดับการสอน (Flow of Lesson). กรุงเทพ: EDUCA 2019.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2563). สถานการณ์ในการศึกษา ณ ปัจจุบัน และนวัตกรรมศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. ระยอง: สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

รุ่ง แก้วแดง. (2559). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560: แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

วิทยากร เชียงกูล. (2559). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษท 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์จำกัด.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้”. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

Claude, J. (1987). Problems of representation in the teaching and learning of mathematics. Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Inprasitha, M. (2010). One feature of adaptive lesson study. In Thailand: Designing learning unit. Proceeding of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education (pp. 193-206). Gyeongju: Dongkook University.

Isoda, M. (2007). Lesson Study in Teacher Education Programs: How Do Students Become Teacher That Implement Lesson Study. In M. Isoda, M. Stephens, Y. Ohara, & T. Miyakawa (Eds.), Japanese Lesson Study in Mathematics: Its Impact, Diversity and Potential for Educational Improvement. Singapore: World Scientific.

Lesh, R. and Zawojewski, J.S. (2007). Problem Solving and Modeling. In: Lester, F., Ed., Second Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning. Greenwich, CT: Information Age Publishing.

Lewis, C. (2000). Lesson study: The core of Japanese professional development. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association (pp. 1-48). Washington: National Science Foundation.

Tall, D. (2008). Using Japanese Lesson Study in Teaching Mathematics. The Scottish Mathematical Council Journal, 38, 45-50.