ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

อัมพกา ชมภู่
พระเทพปริยัติเมธี
สุกัญญาณัฐ อบสิณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งตามหลักสัปปุริสธรรม 7 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 141,203 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}  = 3.48, S.D. = 0.28) 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}  = 3.45, S.D. = 0.35) และ 3) ปัญหา อุปสรรคที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 3.1) ด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร ประชาชนเข้าถึงผู้สมัครได้ยาก 3.2) ด้านพรรคการเมือง องค์กรที่อ่อนแอและขาดความเป็นสถาบันที่ต่อเนื่องและดีพอ 3.3) ด้านนโยบาย มีนโยบายไม่ชัดเจน ไม่ตรงตามความต้องการของประชาชน และ 3.4) ด้านวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง มีการใช้สื่อสมัยใหม่ในการรณรงค์หาเสียงมากขึ้นซึ่งผู้สูงอายุหรือคนรุ่นเก่าไม่สามารถเข้าถึงได้

Article Details

How to Cite
ชมภู่ อ. ., พระเทพปริยัติเมธี, & อบสิณ ส. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 323–334. https://doi.org/10.14456/jra.2023.47
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญหทัย แจ่มแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธุวชิต เทียบคำ. (2561). การตัดสินใจทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม 2562 ของชาวบ้านในหมู่บ้านไม้อิงธาร ตำบลศาลากลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. (งานค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

ยงยุทธ พงษ์ศรี. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี : ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2562. (งานค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครสวรรค์. (2562). ข้อมูลการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดนครสวรรค์ ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562. (อัดสำเนา).

สำนักวิชาการ. (2558). ความมั่นคงแห่งชาติด้านการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.