รูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์ของวัดเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม

Main Article Content

พระอธิการรัตนธร นาถธมฺโม (เทพวรรณ)
พระศรีสมโพธิ (วรัญญู สอนชุน)
ศิริโรจน์ นามเสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการออกแบบภูมิทัศน์ของวัดเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม 2) ศึกษาการออกแบบภูมิทัศน์ของวัดเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในประเทศไทย และ 3) นำเสนอรูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์ของวัดเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิทัศน์ของวัดจำนวน 19 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิดการออกแบบภูมิทัศน์ของวัดเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม พบว่า ในสมัยสุโขทัย เน้นการสร้างสถูปเป็นพระประธานอยู่ด้านหน้าวิหาร โดยมีลานประทักษิณคั่นเพื่อได้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมและ บำเพ็ญการกุศล และในปัจจุบันวัดได้รับอิทธิพลจากยุโรป ทำให้รูปแบบของวัดนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบ ที่เกิดจากการคิดปรับปรุงให้เข้าสู่ความเป็นการออกแบบในเชิงโมเดิร์น 2) การออกแบบภูมิทัศน์ของวัดเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในประเทศไทย พบว่า มีลักษณะที่สอดคล้องกับธรรมชาติโดยมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม สงบและวิเวก เป็นที่สมถะและมีเท่าที่จำเป็น และแฝงนัยยะทางธรรม และ 3) การนำเสนอรูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์ของวัดเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม พบว่า ควรออกแบบภูมิทัศน์ของวัดเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม ตามพระธรรมวินัยให้มีความเพียบพร้อมด้วยสัปปายะ7 อย่าง คือ ที่อยู่เป็นสุขสบาย ที่เที่ยวบิณฑบาตเหมาะดี การพูดคุยที่เหมาะสม เป็นที่สบายกัลยามิตร เป็นที่คำนึงถึงการกินอาหาร ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมเป็นที่สบาย และเป็นพื้นที่ให้นั่ง ยืน เดิน ได้อย่างสะดวก

Article Details

How to Cite
พระอธิการรัตนธร นาถธมฺโม (เทพวรรณ), พระศรีสมโพธิ (วรัญญู สอนชุน), & นามเสนา ศ. . (2023). รูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์ของวัดเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม . วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 41–54. https://doi.org/10.14456/jra.2023.128
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา อานโพธิ์ทอง. (2553). วัด: การออกแบบพุทธสถานเชิงทดลอง. (วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารุพร นุแปงถา. (2551). พัฒนาการรูปแบบและการออกแบบเชิงพื้นที่ของวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชุติมา สุคัณธสิริกุล. (2558). แนวคิดพุทธจักรวาลวิทยาในการวางผังวัดอินทราวาสอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่. วารสารปณิธาน, 11(2), 94-115.

ทวีชัย พลอามาตย์. (2564). การพัฒนาสัปปายะสถานที่เอื้อต่อการปฏิบัติธรรม ของสถาบันสติภาวนาเพื่อสันติภาพ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 9(3), 1028-1039.

พระวีระศักดิ์ ชยธมฺโม (สุวรรณวงศ์). (2560). แนวทางการจัดการวัดสันติสุขตามหลักสัปปายะ7: กรณีศึกษาวัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิริยา พิทยาวัฒนชัย. (2561). วิเคราะห์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการใช้พุทธศิลป์และภูมิทัศนสถานของวัดเจติยภูมิอำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(1), 63-74.

ภคชาต เตชะอำนวยวิทย์. (2556). การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เอื้อให้เกิดความสัปปายะเพื่อนำไปออกแบบวัดป่าวิมุตตยาลัย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 15-26.

วสุ โปษยะนันทน์. (2548). การจัดการภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมของวัดไทยให้เกิดความเจริญศรัทธา: จากอดีตสู่ปัจจุบัน. (รายงานการวิจัย). ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒินันท์ กันทะเตียน. (2560). ภูมิสถาปัตยกรรมของวัดไทยกับการเรียนรู้และการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สันทนา ภิรมย์เกียรติ. (2553). การวางผังบริเวณพุทธสถานสมัยสุโขทัยบบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.