การจัดการเรียนรู้แนวจิตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

ทองแดง สุกเหลือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แนวจิตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 ห้อง 1 คณะครุศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2564 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แนวจิตปัญญาศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสุดเท่ากับ gif.latex?\bar{X}=  4.57 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา มีค่าความสอดคล้อง IOCเท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.22-0.72 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22-0.63 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แนวจิตปัญญาศึกษามีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้แนวจิตปัญญาศึกษาในภาพรวมทั้งหมดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{X} = 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ S.D. = 0.58 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการรู้แนวจิตปัญญาศึกษาของนักศึกษา มีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{X}= 31.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ S.D = 1.72 คะแนนหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{X} =  42.03 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ S.D.= 2.24 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แนวจิตปัญญาศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษา ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนการรู้แนวจิตปัญญาศึกษาในรายวิชาสื่อและกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้สังคมศึกษา พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สุกเหลือง ท. . (2023). การจัดการเรียนรู้แนวจิตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 169–182. https://doi.org/10.14456/jra.2023.37
บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การศึกษาสำหรับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊คส์.

จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2553, 31 มกราคม). จิตวิวัฒน์. มติชนรายวัน. น. 9.

ประเวศ วะสี (2553). แผนชีวิตชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก http://www.plan4 thai.com

ประเวศ วะสี. (2550 ก). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ประเวศ วะสี. (2550 ข). ระบบการศึกษาที่คุณธรรมนำความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล นนทบุรี.

ปิยะรัตน์ อินะสุข. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.

อรอนงค์ แจ่มผล. (2552). ผลของกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้ภายในตนเองของนักศึกษาที่เรียนรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.