การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรมณฑลตะนาวศรี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาช่วง พ.ศ. 2490-2562
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2490-2562 โดยใช้ระเบียบวิธีใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ ผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนาแบบมีประสบการณ์ร่วม จากกลุ่มคนไทยที่อาศัย ณ บ้านสิงขร มณฑลตะนาวศรี ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่เป็นคนร่วมสมัยในเหตุการณ์ที่ผู้วิจัยกำหนด จำนวน 10 คน ใช้การสัมภาษณ์ผ่านระบบออนไลน์ โดยพัฒนาคนในพื้นที่เป็นผู้ช่วยนักวิจัย สรุปและรายงานผลการศึกษาด้วยวิธีพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรมีความสำคัญในบริบทของประวัติศาสตร์ร่วมกันของไทยและเมียนมา เนื่องจากเมืองตะนาวศรีมีความสำคัญต่อการค้าทางทะเลตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา จนถึงหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และกลายเป็นคนพลัดถิ่นหลังการแบ่งเส้นเขตแดนของสยามกับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรมีวิถีชีวิตคล้ายกับคนไทยบริเวณพื้นที่บางสะพานในภาคใต้ คนเหล่านี้ได้มีการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ของตนตั้งแต่ พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ซึ่งมีอยู่ 3 ระยะ คือ การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรช่วงหลังได้รับเอกราช, การปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรช่วงหลังเจรจาหยุดยิงของชนกลุ่มน้อยในเมียนมา และการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์คนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขรภายหลังการเกิดประชาคมอาเซียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงการต่างประเทศ. (2562). ความเป็นมาของการแก้ไขปัญหาเขตแดนไทย-พม่า. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มกราคม 2546. เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com / history/article_6643
กระทรวงพาณิชย์. (2556, 10-13 มีนาคม). ด่านสิงขรเปิดถาวร เม.ย. ยันเมียนมาร์ไฟเขียวแล้ว/ท่องเที่ยวไหวตัวรับ. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. น. 40.
ฐิรวุฒิ เสนาคำ. (2549). ถิ่นพลัดไป...ไทยพลัดถิ่น: บันทึกชีวิตเปลือยเปล่า ไทยพลัดถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิชุมชนไท.
ฐิรวุฒิ เสนาคำ. (2550). ไทยพลัดถิ่นกับข้อจำกัดขององค์ความรู้ว่าด้วยรัฐ-ชาติในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฐิรวุฒิ เสนาคำ. (2550). เยือนไทยพลัดถิ่นในพม่า. กรุงเทพฯ: โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไท.
ณัฐวิชญ์ ศุภสินธุ์. (2555). การศึกษาระบบเสียงของภาษาที่พูดโดยคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
บ.ธรรมบุตร. (2544). จดหมายจากตะนาวศรี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ.
ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1. (2564, ธันวาคม). ประวัติศาสตร์ชุมชนคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร. (นายวรพจน์ วิเศษศิริ ผู้สัมภาษณ์).
ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 10. (2565, มกราคม). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีกับการจัดชุมชนคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร. (นายวรพจน์ วิเศษศิริ ผู้สัมภาษณ์).
ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 2. (2564, ธันวาคม). ประวัติศาสตร์ชุมชนคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร. (นายวรพจน์ วิเศษศิริ ผู้สัมภาษณ์).
ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 4. (2564, ธันวาคม). ประวัติศาสตร์ชุมชนคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร. (นายวรพจน์ วิเศษศิริ ผู้สัมภาษณ์).
วงเดือน นาราสัจจ์. (2518). การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยต่อมหาอำนาจตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394). (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรพจน์ วิเศษศิริ. (2559). ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอยุธยากับเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรี พ.ศ. 2133-2310. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิภวานี เผือกบัวขาว และณัฐกานต์ ผาจันทร์. (2562). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างเส้นทางการเที่ยวเชื่อมโยง ชายแดนไทย–เมียนมา: กรณีศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดมะริด. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(4), 273-275.
ศิริพร กรอบทอง. (2541). วิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย พ.ศ. 2481-2535. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์วิจัยสิงขร-มะริดศึกษา. (2562). สรุปผลการศึกษาข้อมูลชายแดนไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (บ้านสิงขร ตะนาวศรี มะริด). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Brown, J. M. (1985). From Ancient Thai to Modern Dialects: and other writings on historical Thai linguistics. Bangkok: White Lotus Co.
Scott, J. G. (1963). The Burman: His Life and Notions. New York: Norton & Company.