การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังหินวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 อุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องพัฒนาการประวัติศาสตร์ไทย สมัยประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังหินวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 อุทัยธานี การวิจัยครั้งนี้มีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวังหินวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องพัฒนาการประวัติศาสตร์ไทย สมัยประชาธิปไตย จำนวน 1 ห้อง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน-หลังเรียน ค่า IOC เท่ากับ 0.50-1.00 ทุกข้อ วิเคราะห์หาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 มีขั้นตอนที่ชัดเจน เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่กระบวนการแก้ปัญหาของผู้เรียน แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย = 12.87 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย =26.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนเรียน =3.181 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หลังเรียน = 1.756 และผลการทดสอบค่า t-test เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2557). บทความ: ปัญหาของการเรียนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จำเนียร กิ่งแก้ว. (2559). ผลของการสอนแบบอริยสัจสีที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านป่าข่า จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). สู่การศึกษาแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, ตุลาคม 13). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 135ก, หน้า 5-8.
ระพีพรรณ ดวงใจ. (2550). ผลการสอนแบบอริยสัจสี่ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดแบบเห็นคุณโทษและทางออก เรื่อง หลักธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิมายวิทยา จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมถวิล วิจิตรวรรณา และคณะ. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เจริญดี มั่นคงการพิมพ์.
สุภาพร วงศ์ชาลี. (2560). การนำหลักพุทธปรัชญาเรื่องอริยสัจ 4 มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษาของครูในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสนาและปรัชญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.
อัญไอริณทร์ ราชวงศ์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ตามวิธีสอน แบบอริยสัจสี่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.