การจัดการเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลลานสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2

Main Article Content

พระสมุห์ตนุภัทร จินฺตามโย (รุ่งเรืองดี)
พิสมัย รบชนะชัย พูลสุข
ดิเรก ด้วงลอย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักอิทธิบาท 4 การวิจัยครั้งนี้มีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลลานสัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่เรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง คือ ชั้น ป.5/1 จำนวน 36 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักอิทธิบาท 4 รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 4 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ได้ค่า IOC เท่ากับ 1 ทุกข้อ จากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มาเป็นแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ วิเคราะห์หาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบรายข้อโดยเลือกแบบทดสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20-0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไปมาเป็นแบบทดสอบ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 และนำมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากหลักอิทธิบาท 4 เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางชัดเจนในการจัดการเรียนรู้ แก้ปัญหาการเรียนการสอนได้ตรงประเด็นมีความพยายามในการร่วมกิจกรรม เอาใจใส่ในกิจกรรมนั้น รวมไปถึงตรวจสอบความผิดพลาดของตนเองให้สมบูรณ์เป็นการนำเอาหลักธรรมมาใช้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (µ) =15.23 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (µ) = 20.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนเรียน =2.329 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หลังเรียน = 3.627

Article Details

How to Cite
พระสมุห์ตนุภัทร จินฺตามโย (รุ่งเรืองดี), รบชนะชัย พูลสุข พ. ., & ด้วงลอย ด. . (2023). การจัดการเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลลานสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 65–76. https://doi.org/10.14456/jra.2023.55
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2543). การวัดและประเมินผลการศึกษาทฤษฎีและประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวรพัฒน์ กิตฺติวโร (สุโข). (2561). การจัดการเรียนรู้วิชา พระพุทธศาสนาด้วยหลักอิทธิบาท 4 มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศุภฤกษ์ สุภทฺทจารี (สีวันคำ) และคณะ. (2563). การสอนวิชาพระพุทธศาสนาด้วยหลักอิทธิบาท 4 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วารสารการสอนสังคมศึกษา, 2(1), 44-55.

พระสุวรรณา อินฺทโชโต (เหือน) และมานพ นักการเรียน. (2563). การใช้อิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา 10 มกราคม 1979 จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 10(3), 97-108.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.