การศึกษาการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนวัฒนธรรมและย่านประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล
อมต จันทรังษี
อมราภรณ์ จริงจิตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ชุมชนวัฒนธรรมและย่านประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อปกป้องสิทธิในพื้นที่เชิงกายภาพ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชุมชน และ 2) วิเคราะห์และนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการจัดการและบริหารพื้นที่เมืองที่เสมอภาคแก่พื้นที่ชุมชนวัฒนธรรมและย่านประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ขอบเขตเชิงพื้นที่ คือ ชุมชนและย่านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บทความนี้ทบทวนเอกสารการศึกษาและวิจัยชุมชนในกรุงเทพมหานครในช่วงเวลา 5 ทศวรรษ (2520-2560) รวมถึงเอกสารและข้อบัญญัติทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ชุมชนและประวัติศาสตร์เพื่อสำรวจขอบเขตและพื้นที่ความรู้ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับชุมชนทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีมาก่อน และวิเคราะห์การจัดการพื้นที่ชุมชนวัฒนธรรมและย่านประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร พบว่า งานศึกษาและวิจัยชุมชนในกรุงเทพมหานครมีข้อจำกัดทางการศึกษาทั้งจากพื้นที่ศึกษา สาขาวิชาที่ให้ความสนใจ และระดับงานศึกษา ทำให้ยากต่อการผลักดันผลการศึกษาเข้าสู่ประเด็นเชิงนโยบาย การวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่ชุมชนและย่านประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร พบช่องว่างของกฎหมาย คือ การให้คำนิยามที่ไม่ชัดเจนและไม่หลากหลาย และการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นในทางกฎหมายในระดับน้อย งานวิจัยนี้เสนอว่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการจัดการและบริหารพื้นที่เมืองที่เสมอภาคและยั่งยืนแก่พื้นที่ชุมชนวัฒนธรรมและย่านประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครควรหลีกเลี่ยงการกำหนดนโยบายและแนวทางที่จากบนลงล่าง และคำนึงถึงการบริหารจัดการและการยอมรับจากทุกฝ่ายกระบวนการทำงานควรมีต้นแบบหรือโมเดลของกระบวนการในการทำงาน โดยมีผู้มีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องในรูปแบบไตรภาคี

Article Details

How to Cite
เหล่าโชคชัยกุล ก., จันทรังษี อ. ., & จริงจิตร อ. . (2023). การศึกษาการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนวัฒนธรรมและย่านประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 103–120. https://doi.org/10.14456/jra.2023.33
บท
บทความวิจัย

References

กิ่งเพชร ลีฬหาชีวะ. (2529). การศึกษาศักยภาพของคลองเพื่อการแก้ไขปัญหาทางผังเมืองของกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมือง). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรพร แสงศิลป์. (2527). ลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมของตึกแถวในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชมพูนุท พบสุข. (2549). การแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนบุกรุกพื้นที่ในเขตเมืองโดยการมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนคลองลำนุ่น กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังชุมชน). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาติชาย ไชยสิทธิ์. (2528). การศึกษาเพื่อการพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกด้านกายภาพ. (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพล แสงอรุณ. (2555). สิทธิที่จะอยู่ในเมือง: ภาพสะท้อนจากการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิการอยู่อาศัยของชุมชนบางบัว. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/ผังเมือง, 9(1), 1-12.

ทวีเดช คงอ่อน. (2538). การศึกษาคุณค่าสภาพแวดล้อมเมืองและชุมชนกรุงธนบุรีเพื่อการอนุรักษ์. (วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมือง). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนะ สิงหศิลารักษ. (2555). การศึกษาปัญหาการพัฒนาเมือง กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศกรรมโยธา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์. (2543). การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์ย่านนางเลิ้ง. (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ ทองไม้ผา. (2522). การจัดผังเฉพาะย่านการค้าธุระกิจกลางเมือง (บริเวณสัมพันธวงศ์-ราชวงศ์). (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มติชน. (2559, 28 มีนาคม). กทม. ปิดป้ายไล่ “ชุมชนป้อมมหากาฬ” ขีดเส้น 30 เม.ย. ชาวบ้านถามให้ไปอยู่ไหน. มติชนออนไลน์. เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/local /news_86323

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร. (2556). การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรี จิระรัตน์พันธ์. (2550). แนวทางการพัฒนาย่านเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมือง). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วลีพร พจนะวาที. (2549). ผลกระทบของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางซื่อที่มีต่อชุมชนและพื้นที่โดยรอบ. (วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมือง). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพงษ์ พัดปุย. (2527). สภาพสิทธิของสลัม: มองจากแง่เศรษฐกิจสังคมและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สร้อยสุข พงษ์พูล. (2553). แนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงจาก http://chmthai.onep.go.th/chm/city/document/แนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกทม.pdf

สินีนาฏ วงศ์สวัสดิ์. (2545). การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการรื้อถอนย้ายจากชุมชนใต้สะพาน. (วิทยานิพนธ์เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคหการ). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภา รุจิรกุล. (2545). แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์กลางเก่า: กรณีศึกษาย่านวงเวียนใหญ่. (วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมือง). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภณ จงสมจิตร. (2530). การศึกษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์สถานที่เกาะเมืองรัตนโกสินทร์ชั้นใน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Huchzermeyer, M. (2014). Invoking Lefebvre's ‘right to the city’ in South Africa today: A response to Walsh. City, 18(1), 41-49.

Lees, L., Shin, H. B., and Lopez-Morales, E. (2016). Planetary gentrification. Cambridge: Polity.

Parker, S. (2003). Urban theory and the urban experience. London: Routledge.