ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

บุญธรรม ใจภักดี
ศิริพร นุชสำเนียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี และ 2) เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและวิธีการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านครอบครัว ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และด้านเศรษฐกิจ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane ได้ 400 ตัวอย่าง จากประชากรจำนวน 215,425 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวโดยวิธี One Way Anova เพื่อใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่าสองกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 324 คน คิดเป็นร้อยละ 80 มีอายุในช่วงอายุตั้งแต่ 21-30 ปี จำนวน 229 คน คิดเป็นร้อยละ 57.1 มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 36.9 มีสถานภาพโสด จำนวน 282 คน คิดเป็นร้อยละ 70.3 มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 264 คน คิดเป็นร้อยละ 65.8 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือน ตั้งแต่ 15,001-25,000 บาท จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 51.6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มีค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 3.15 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.21 ด้านเศรษฐกิจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.36 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.23 ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.13 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.20 ด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.20 และด้านครอบครัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.01 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.24 และ 2) แนวทางในการแก้ไขปัญหาและวิธีการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน คือ การสำรวจสภาพและวิเคราะห์ปัญหา สอบถามความคิดเห็น กำหนดนโยบาย สร้างความเข้าใจ วางแผนงานดำเนินงาน พัฒนาบุคลากร จัดกิจกรรมป้องกัน และรักษามาตรฐานและการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
ใจภักดี บ., & นุชสำเนียง ศ. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี . วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 289–306. https://doi.org/10.14456/jra.2023.89
บท
บทความวิจัย

References

คม เหล่าบุตรสา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาเสพติดของผู้ต้องหาในคดียาเสพติดประเภท 1 (ยาบ้า) ในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม). สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ : มหาวิทยาลัยรังสิต.

จำเริญ สุภาคำ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดยาบ้าของผู้ค้าที่เป็นนักโทษเด็ดขาดในเรือนจำพื้นที่เขต 5 ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา). คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

ชาตรี ชีวาวัฒนานนท์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดในคดียาเสพติดของเยาวชน จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์). คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณิชธร ปูรณะปัญญา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็กและเยาวชน ในจังหวัดบุรีรัมย์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม). สถาบันอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม วิทยาลัยรัฐกิจ : มหาวิทยาลัยรังสิต.

สมิต วัฒนธัญญกรรม และคณะ. (2546). การแพร่ระบาดของสารเสพติดและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสพสารเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ : สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงยุติธรรม.

สุรศักดิ์ เลาหพิบูลย์กุล. (2547). อิทธิพลของปัจจัยด้านสังคม ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการเสพยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การ). คณะศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกริก.

เสกสิทธิ์ สวรรยาธิปัติ. (2554). การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติด และชีวิตร่างกาย (คดีร้ายแรง) ของเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล: การศึกษาวิจัยโดยใช้ทฤษฎีการควบคุมตนเอง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.

เอกภัทระ เหล่ามีผล. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดปทุมธานี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร). คณะรัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.