ข้อสันนิษฐานที่มาของครุฑคาบแก้วในจิตรกรรมเทพชุมนุมสมัยรัตนโกสินทร์

Main Article Content

วชิรวิชญ์ ตั้งธนานุวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อสันนิษฐานที่มาของครุฑคาบแก้วในจิตรกรรมเทพชุมนุมสมัยรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าภาพครุฑคาบแก้วนั้นมีที่มาจาก “พญาสดายุคาบแหวน” โดยจิตรกรใช้ภาพครุฑสื่อถึงนกสดายุบุตรของพญาครุฑ และภาพดวงแก้วมณี คือภาพหน้าตรงของเม็ดหัวแหวนที่นางสีดาสวม โดยพบหลักฐานสนับสนุนคือภาพลายมุกครุฑปกติและครุฑคาบแก้วคาบแหวนบนบานประตูพระอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม จังหวัดอยุธยา สำหรับข้อสันนิษฐานว่าดวงแก้วมณีคือ มณีนาคสวาทหรือมณีครุทธิการที่นาคกระอักออกมาก่อนตายมีความเป็นไปได้น้อยกว่าและยังไม่พบหลักฐานสนับสนุน

Article Details

How to Cite
ตั้งธนานุวัฒน์ ว. . (2023). ข้อสันนิษฐานที่มาของครุฑคาบแก้วในจิตรกรรมเทพชุมนุมสมัยรัตนโกสินทร์. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 439–450. https://doi.org/10.14456/jra.2023.98
บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2535). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม 2 ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). สมุดภาพสัตว์หิมพานต์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2556). คติสัญลักษณ์และการออกแบบวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์. (2464). ตำรานพรัตน์. พระนคร : โสภณพิพรรฒธนากร.

พระเทพสุวรรณมุนี (สีลภูสิต ภิกฺขุ). (2542). พระอารามหลวง จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : มูลนิธิพระเทพสุวรรณมุนี.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2556). พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์: พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

พระเทพสุวรรณมุนี. (2542). พระอารามหลวง จังหวัดเพชรบุรี : เอกสารประวัติศาสตร์ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยและสมุดภาพปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ พระอารามหลวง จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : มูลนิธิพระเทพสุวรรณมุนี (สีลภูสิต ภิกขุ บุญรวม มีอารีย์).

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2552). สมุดภาพปฐมสมโพธิกถา: วรรณคดีพระพุทธศาสนาพากย์ไทย คัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

อาคเนย์ กลุ่มธุรกิจประกันและการเงิน. (2561). แบบสำรวจรังวัดสถาปัตยกรรมวัดอรุณราชวราราม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.