การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาฐานคลาวด์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

กมล รินคำ
ชรินทร์ มั่งคั่ง
แสวง แสนบุตร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาฐานคลาวด์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา พบว่า ประเทศไทยมีการกำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ.2554-2564 หรือ “ICT 2020” ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ICT เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการนำพาคนไทยสู่ความรู้และปัญญาเศรษฐกิจไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนด้วยการใช้ ICT เป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนประกอบสำคัญของการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาโดยการนำคลาวด์คอมพิวติ้งกับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ก็ถือเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเรียนรู้ภายใต้สังคมเทคโนโลยีและสื่อสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเน้นให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ให้มากขึ้นในศตวรรษที่ 21 โดยอาศัยเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาทักษะและกระบวนการให้ดียิ่งขึ้น ทันสมัย และยั่งยืนด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาของประเทศไทย และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในภาคอนาคตเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะเพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ข้อที่ 2 ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสร้างกำลังคนของประเทศโดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนด้วยการใช้ ICT เป็นเครื่องมือหรือเป็นส่วนประกอบสำคัญของการเรียนการสอน

Article Details

How to Cite
รินคำ ก. ., มั่งคั่ง ช. ., & แสนบุตร แ. . (2023). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาฐานคลาวด์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 337–352. https://doi.org/10.14456/jra.2023.147
บท
บทความวิชาการ

References

จิรัชฌา วิเชียรปัญญา. (2549) การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมสำหรับการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2559). อนาคตวิทยา: ทฤษฎีและเทคนิคการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. เชียงใหม่ : โครงการตำราและหนังสือ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2563). การวิจัยทางสังคมศึกษา:หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผการัตน์ ใยทอง และคณะ. (2559). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างจิตห้าลักษณะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 220-240.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

พระปลัดราชันย์ ขวัญเมืองและคณะ. (2564). พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1627-1640.

พิชาติ แก้วพวง. (2560). การคิดทางประวัติศาสตร์:ทักษะสำคัญของนักศึกษาครูสังคมศึกษา. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 1(2), 15-21.

แม้นมาส ชวลิต. (2540). มาตรฐานเพื่อพัฒนาบิการห้องสมุดเอกสารวิชาการ. กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.

ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมและความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีความสามารถพิเศษ. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(2), 15-32.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระเบียบวาระแห่งชาติ 2551-2555. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2554). การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์ และเสริมศรี ไชยศร. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตรักติวิสต์เชิงสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพครูยุคใหม่. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 9(2), 15–26.

เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์ และปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2555). มุมมองของผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมอีเลิร์นนิง เพื่อการส่งเสริมการนำการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงไปใช้ใน ระดับอุดมศึกษา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง บูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ประชาคม อาเซียน: นโยบายและกระบวนการ (น.73-80). กรุงเทพฯ : โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (สกอ).

เสรี พงศ์พิศ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์.

อิทธิเดช น้อยไม้. (2560). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

เอกชัย พุ่มดวง และยุสดีย์ โสมทัศน์. (2559). กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมตามแนวศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพ ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2559). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ใหม่โดยใช้เกมการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(1), 54-59.

Barr, B. & Shemis, S. (1997). Defining the Social Studies. Washington. DC : Nation Council for the social studies.

Holden, M. & Connelly, S. (2004). The learning city: urban sustainability education and building toward WUF legacy. Ottawa : Government of Canada.

Jarolimek, J. & Parker, W.P. (1993). Social Studies in Elementary Education. (9th ed.). New York : Maxwell Macmillan International.

Preston, R.C. (1960). Teaching in Social Studies in Elementary School. New York : Holt Reinhart and Winston.

Smith, J. A. (2004). Reflecting on the Development of Interpretative Phenomenological Analysis and Its Contribution to Qualitative Research in Psychology.

Stewart, R. (1998). Inside the learning society. London : Cassell.