การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก 2) ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และ 3) เสนอรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานในเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชน หน่วยงานภาครัฐ พระสงฆ์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเนินมะปราง จำนวน 24 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลิตภัณฑ์ชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า มีการเสริมสร้างความรู้ ทักษะและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีความโดดเด่น มีคุณภาพมาตรฐานพร้อมที่จะจำหน่ายทั้งในตลาดภายในและตลาดต่างประเทศได้ ที่สำคัญผลิตภัณฑ์นั้นยังคงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของชุมชนอย่างเด่นชัด 2) การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ได้รับการสนับสนุนภาครัฐและภาคเอกชน แม้ว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ทั้งด้านรสชาติ คุณภาพที่ดี แต่การบรรจุภัณฑ์ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดการพัฒนา ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 2.1) ประเภทของตกแต่ง 2.2) ประเภทตราตราสัญลักษณ์ 2.3) ประเภทบรรจุภัณฑ์ และ 3) รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า การพัฒนารูปแบบสินค้าเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า สร้างความโดดเด่น ดังนี้ 3.1) มีความแข็งแรง 3.2) มีราคาขายที่เหมาะสม 3.3) สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ 3.4) ความงาม 3.5) มีความสะดวกสบายในการใช้งาน 3.6) การดูแลรักษา 3.7) มีความปลอดภัย และ 3.8) การขนส่งที่รวดเร็ว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงพาณิชย์. (2562). แนวทางและหลักเกณฑ์ การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย 2562. เข้าถึงได้จาก https://korat.cdd.go. th/wp- B5-2562.pdf
กัลญา แก้วประดิษฐ์. (2565). แนวทางเสริมศักยภาพการจัดการธุรกิจทางวัฒนธรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(5), 90.
เกษม กุณาศรี และคณะ. (2558). การค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ฐปนัท แก้วปาน สราวุธ อิศรานุวัฒน์ และจริยา แผลงนอก. (2563). หลักการและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 161.
สมจินตนา จิรายุกุล. (2558). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดการที่ดีและการออกแบบผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนเขตธนบุรีโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (รายงานการวิจัย). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก. (2565). ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านการเกษตรที่สำคัญของจังหวัด. เข้าถึงได้จาก https://www.opsmoac.go.th/phitsanulok-dwl-files-431291791098
สำนักงานประมงจังหวัดพิษณุโลก. (2564). จำนวนผู้ทะเบียนชาวประมง (ทบ.3) จังหวัดพิษณุโลก. เข้าถึงได้จาก https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/fpo-phitsanulok
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก. (2564). จำนวนประชากรสัตว์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก. เข้าถึงได้จาก https://pvlo-phs.dld.go.th/home.html
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเนินมะปราง. (2565). ประวัติความเป็นมา. เข้าถึงได้จาก https:// district.cdd.go.th/noenmaprang
อมรรัตน์ บุญสว่าง. (2560). การผลิตเส้นใยปอเทืองเพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชน: กรณีศึกษา กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.