กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4

Main Article Content

อุเทน ฮ้อสิทธิสมบูรณ์
พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ
วินัย ทองมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 รูป/คน ใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และการประเมินกลยุทธ์โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน ใช้แบบประเมินความเหมาะสม คือ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและประโยชน์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์ด้านหลักสูตร ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการวางแผนการบริหารหลักสูตร โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ส่งเสริมการนิเทศกำกับติดตามหลักสูตรสถานศึกษาและเผยแพร่ผลการดำเนินการไตร่ตรอง ทบทวนในสิ่งที่ทำ 2) กลยุทธ์ด้านรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สรุปผลการปฏิบัติหน้าที่การสอน นำผลไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนางานการสอน 3) กลยุทธ์ด้านสื่อและนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ เขียนรายงานการปฏิบัติ อย่างน้อยคนละ 1 เรื่องต่อ 1 ภาคเรียน มีการยกย่องผลงานด้านสื่อและนวัตกรรมของครู 4) กลยุทธ์ด้านการวัดและประเมินผล ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ มีความเข้าใจในงาน การวัดประเมินผล การสร้างแบบวัดและประเมินผล นำผลสัมฤทธิ์ที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาปรับปรุงงาน มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไข นำผลสัมฤทธิ์และผลการสอบ N-net มาใช้เพื่อปรับปรุงพัฒนางาน และผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

How to Cite
ฮ้อสิทธิสมบูรณ์ อ. ., พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ, & ทองมั่น ว. . (2023). กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4 . วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 241–256. https://doi.org/10.14456/jra.2023.67
บท
บทความวิจัย

References

เยาวเรศ จิตต์ตรง. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำด้านการเรียนการสอนสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ. (2544). การศึกษาผู้ใหญ่ปรัชญาตะวันตกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิเชียร พากเพียร. (2561). การสร้างแบบทดสอบวัดคุณธรรมด้านอิทธิบาท 4 ประจำปีงบประมาณ 2561. (อัดสำเนา)

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานฉบับสังเคราะห์จากวิกฤตสู่โอกาสสิ่งที่ยังท้าทายการปฏิรูปการศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2555). สรุปจำนวนบุคลากร สังกัด สำนักงาน กศน. กทม. ปี 2555. (อัดสำเนา)

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2561). รายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีงบประมาณ 2561. (อัดสำเนา)

Lauzon, N., & Bégin, S. (2007). Developing a strategy to enhance school principal credibility. Bingley, UK: Emerald Group Publishing Limited.

Magnuson, W.G. (2001) The characteristics of successful school business managers. (Doctoral Dissertation. Los Angeles: University of Southern California.

Young, K., Larsen, D., & Mixon, J. (2017). The Relationship of Ethics Courses in Principal Preparation Programs and Ethical School Leadership Policies, Practices, and Programs. International Journal of Educational Leadership Preparation, Education Leadership Review, State Affiliate journals, ELRDR, 12(2), 444.