การบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่ส่งผลต่อ คุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

Main Article Content

ศุนิสา ดาราเรือง
โยธิน ศรีโสภา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐกับคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ และ 3) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการ และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จำนวน 274 คน จากประชากร 905 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐทุกรายด้านมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูงถึงสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ตัวแปรการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ด้านการมุ่งผลลัพธ์การดำเนินการ ด้านการมุ่งเน้นบุคลากรและ ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนหรือทำนายคุณภาพการศึกษาภายใน ได้ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ดาราเรือง ศ. ., & ศรีโสภา โ. . (2023). การบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่ส่งผลต่อ คุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 199–214. https://doi.org/10.14456/jra.2023.39
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองวิจัยและประกันคุณภาพ. (2561). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา. (อัดสำเนา).

จักรพันธ์ ชัยทัศน์, โสภา อำนวยรัตน์, สันติ บูรณะชาติ, และน้ำฝน กันมา. (2562). องค์ประกอบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และศิลปะ, 12(2), 1272-1293.

นลินีวรรณ ประพันธา และปิยากร หวังมหาพร. (2561). ผลสัมฤทธิ์การบริหารตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 155-168.

บงกช จันทร์สุขวงค์ และทวีศักดิ์ สว่างเมฆ. (2563) แนวทางการจัดการโรงเรียนกีฬาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 337-350.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 3 – 4.

ระติกรณ์ นิยมะจันทร์. (2558). ปัจจัยของการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 147-157.

รุ้งลาวัลย์ จันทรัตนา และ นิ่มอนงค์ งามประภาสม. (2556). กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(3), 29-39.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: บริษัท วิชั่น พริ้น แอนด์ มีเดีย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ทักษะคนไทยในศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในการพัฒนา. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 53(1), 2-22.

สุนิดา เดชรักษา, ประกอบ ใจมั่น, และวีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล. (2558). การบริหารจัดการระบบคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 7(2), 116-133.

สุวิทย์ ภาณุจารี และณัฐธนธีรา ศรีภา. (2563). การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศาสน์ มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย, 18(1), 22-31.

อภิวรรณ ยอดมงคล และสุจิตรา จรจิตร. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 14(1), 15-26.

Halloran, P. M. (2008). An exploratory analysis of the implementation of the Malcolm Baldrige quality framework of selected Illinois school districts: A case study of two Lincoln Foundation quality award winners. Illinois State University.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Rahayu, I. N., Adawiyah, R. W., & Anggraeni, I.A. (2019). Malcolm Baldrige Education Criteria for Performance Excellent of Vocational School in Rural Area. International Conference on Rural Development and Enterpreneurship 2019: Enhancing Small Busniness and Rural Development Toward Industrial Revolution 4.0, 5(1), 294-310.