"แม่น้ำพิจิตร" วัดในพระพุทธศาสนา: กับเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระครูวศินวรกิจ
พระครูอุทัยกิจารักษ์
พระครูโพธิวรคุณ
ปริญญา นิกรกุล
ณฐยา ราชสมบัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตำนาน เรื่องเล่าแม่น้ำพิจิตร 2) วิเคราะห์เรื่องเล่าปรัมปรา และบทบาทของตำนาน และ 3) เสนอรูปแบบและเส้นทางการท่องเที่ยววัดในพระพุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับเรื่องเล่าตำนานของคนลุ่มน้ำพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) วัดมีภูมิประเทศที่อยู่ติดกับถนนและแม่น้ำพิจิตรซึ่งมีตำนาน เรื่องเล่า เช่น วัดนครชุมเป็นวัดเก่าแก่อายุราว 800 ปี อุทยานเมืองเก่าพิจิตร พระยาโคตรบอง ศาลหลักเมือง วัดมหาธาตุ ถ้ำชาละวัน และเกาะศรีมาลา วัดโพธิ์ประทับช้าง พระพุทธเจ้าเสือ หลวงพ่อโตหรือหลวงพ่อยิ้ม วัดท่าบัวมีวนอุทยานลานธรรมหลวงพ่อเงิน วิหารหลวงพ่อชื่นสร้างด้วยอิฐศิลาแลงหนึ่งเดียวในพิจิตร 2) เรื่องเล่าจากชาวบ้าน/การไม่จำยอม มีสองมิติ คือ การย้ายหลวงพ่อเพชรจากวัดนครชุมไปประดิษฐานที่วัดท่าหลวง แต่คนในชุมชนจึงรวมตัวกันสร้างหลวงพ่อเพชรและอุโบสถจำลองไว้ที่วัดนครชุม ชาวบ้านและวัดโพธิ์ประทับช้างทำสังฆกรรม งานบุญ งานบวชในโบสถ์ (โบราณสถาน) วัดท่าบัวโดยใช้สิลาแลงมาทำเป็นวิหาร ในเชิงเศรษฐกิจวัดนครชุมจุดขายคือวิหารเก่าที่มีมนต์ขลังในสถาปัตยกรรม วัดโพธิ์ประทับช้างมีนกแก้วโมง มหกรรมล่องเรือดูหิ่งห้อย วัดท่าบัวมีประเพณีลอยกระทง และ 3) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศาสนาการท่องเที่ยวผ่านแม่น้ำพิจิตรและถนนสายรอง เช่น สถานีรถไฟพิจิตร วัดท่าหลวง บึงสีไฟ เมืองเก่า วัดนครชุม วัดโพธิ์ประทับช้าง ชมสวนส้มโอ เยี่ยมชมวิถีชีวิริมแม่น้ำเที่ยววัดท่าบัว ไหว้หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน และชมจุดบรรจบแม่น้ำพิจิตรและแม่น้ำยม เป็นต้น

Article Details

How to Cite
พระครูวศินวรกิจ, พระครูอุทัยกิจารักษ์, พระครูโพธิวรคุณ, นิกรกุล ป. ., & ราชสมบัติ ณ. . (2023). "แม่น้ำพิจิตร" วัดในพระพุทธศาสนา: กับเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 35–48. https://doi.org/10.14456/jra.2023.53
บท
บทความวิจัย

References

จังหวัดพิจิตร. (2555). ภูมิประเทศจังหวัดพิจิตร. เข้าถึงได้จาก http://www.phichit.go.th

ธนู ศรีทองและคณะ. (2563). การใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ฐานทรัพยากรการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา จังหวัดสุรินทร์. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 11(2), 392-409.

พระศรีสิทธิวิเทศ (ธวัชชัย รสเลิศ) และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). วิวัฒนาการวัดในพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 74-85.

พิเชฐ แสงทอง. (2559). ตำนานและเรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่นภาคใต้: อัตลักษณ์ วัฒนธรรม อำนาจ และการต่อต้าน ในประวัติศาสตร์ความเป็นไทย. กรุงเทพฯ: ยิบซีกรุ๊ป.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2555). ตำนาน คิดให้ดี ชี้ให้เห็น กับเรื่องเล่าเก่าแก่ ที่สืบต่อกันมา. กรุงเทพฯ: มติชน.

ยงยุทธ ชูแว่น. (2562). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: ยิบซีกรุ๊ป.

เยาวลักษณ์ เหล่าฤทธิ์. (2558). เที่ยววัด: แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วัฒนธรรมริมฝั่ง แม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(57), 165-176.

วนิดา ขำเขียว. (2562). การท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญทางพระพุทธศาสนา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(21), 123-134.

สุรชัย ชินบุตร. (2563). พระยาศรีโคตรบอง: วีรบุรุษมอญ-เขมร. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 27(2), 41-77.

อ้อมบุญ ทิพย์สุนา. (2563). การใช้ประโยชน์ ผลกระทบ และการฟื้นฟูแหล่งอาหารของชุมชน: กรณีศึกษาบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 16(2), 64-88