วัจนลีลาในการเทศนาธรรมของพุทธทาสภิกขุ

Main Article Content

สิริมา เชียงเชาว์ไว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของวัจนลีลาในการเทศนาธรรมของพุทธทาสภิกขุ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากธรรมเทศนาของท่านพุทธทาสที่ได้รับการถ่ายทอดเป็นหนังสือแล้ว จำนวน 10 เรื่อง วิเคราะห์โดยใช้แนวคิดเรื่องวัจนลีลาของมาร์ติน โจส ผลการวิจัย พบว่า การเทศนาธรรมของท่านพุทธทาสเป็นวัจนลีลาแบบเป็นทางการ กล่าวคือ 1) เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในสถานการณ์สำคัญ 2) เป็นวิธภาษาที่สุภาพ 3) มีความหรูหราในถ้อยคำและรูปประโยคเป็นอย่างดี 4) มีการแยกตัวของผู้พูดออกจากผู้ฟัง 5) มีการเชื่อมโยงความ และ 6) ใช้คำศัพท์เฉพาะในสาขาวิชา มีการเรียงร้อยถ้อยคำสำนวนภาษาอย่างพิถีพิถัน มีศิลปะชั้นเชิง เพื่อทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ไม่สับสน โดยวัจนลีลาทั้งหมดนั้นส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ในคุณค่าแห่งพระธรรมและนำไปสู่การปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
เชียงเชาว์ไว ส. . (2023). วัจนลีลาในการเทศนาธรรมของพุทธทาสภิกขุ. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 221–238. https://doi.org/10.14456/jra.2023.85
บท
บทความวิจัย

References

เปลื้อง ณ นคร. (2535). ศิลปะแห่งการประพันธ์. กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์.

ธรรมปราโมทย์. (2549). ตามรอยพุทธทาส ภาคผลงาน. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

ประชาไท. (2548). พุทธทาส. เข้าถึงได้จาก http://www.buddhadasa.org/html/100/7.html.

ประภาศรี สีหอำไพ. (2538). วัฒนธรรมทางภาษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชร บัวเพียร. (2536). วาทวิทยา: กลยุทธ์การพูดอย่างมีประสิทธิผลในทุกโอกาส. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อะเบลส.

พุทธทาสภิกขุ. (2521). การทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง. กรุงเทพฯ : สมชายการพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ. (2527). ความสุขแท้เมื่อสิ้นสุดแห่งความสุข. กรุงเทพฯ : การพิมพ์พระนคร.

พุทธทาสภิกขุ. (2530). ชีวิตคู่. กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ. (2535). แก่นพุทธศาสน์. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (2536). สิ่งที่ทุกคนควรรู้จัก. กรุงเทพฯ : หจก.ภาพพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ. (2544). สวรรค์ในหน้าที่การงาน ธรรมะที่ควรรู้จักเพื่อทำงานให้สนุก. กรุงเทพฯ : ธรรมทานมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (2545). การดำรงชีวิตที่ถูกต้อง. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.

พุทธทาสภิกขุ. (2546). การเก็บความโกรธใส่ยุ้งฉาง. กรุงเทพฯ : มิตรนราการพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ. (2546). ชาตินี้ชาติหน้า เรื่องผี ๆ สาง ๆ. กรุงเทพฯ : ธรรมทานมูลนิธิ.

พุทธทาสภิกขุ. (2546). ธรรมะสำหรับคนเกลียดวัด. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง.

พุทธทาสภิกขุ. (2550). เกิดมาทำไม. กรุงเทพฯ : เม็ดทราย.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2523). ความรู้ทั่วไปทางภาษาและวรรณกรรมไทย (ภาควรรณคดี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ภาษาศาสตร์สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Joos, M. (1961). The Five Clocks. A Linguistic Excursion into the Five Styles of English Usage. New York : Harcort, Brace and World.

Norman, F. (1992). Discourse and Social Change. Cambridge : Polity Press.

Stephen, C. L. (1983). Pragmatics. Cambridge : Cambridge University Press.

Stubbs, M. (1983). Discourse Analysis. Oxford : Basil Blackwell.