ปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความรักในตราสินค้าของผู้ใช้บริการจัดนำเที่ยวต่างประเทศในรูปแบบกรุ๊ปเหมาของบริษัท ดีว่า เวเคชั่น จำกัด

Main Article Content

ปาจรีย์ โดยชื่นงาม
กนกกานต์ แก้วนุช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ และ 2) ปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความรักในตราสินค้าของผู้ใช้บริการจัดนำเที่ยวต่างประเทศในรูปแบบกรุ๊ปเหมาของบริษัท ดีว่า เวเคชั่น จำกัด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการจัดนำเที่ยวต่างประเทศในรูปแบบกรุ๊ปเหมาของบริษัท ดีว่า เวเคชั่น จำกัด จำนวน 500 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยการคำนวณตามสูตรของยามาเน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.00 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 42.60 รายได้ต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 30.40 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 37.00 และประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 62.60 โดยปัจจัยลักษณะประชากรศาสตร์ด้านเพศ และรายได้ต่อเดือนส่งผลต่อความรักในตราสินค้าของผู้ใช้บริการจัดนำเที่ยวต่างประเทศในรูปแบบกรุ๊ปเหมาของบริษัท ดีว่า เวเคชั่น จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ปัจจัยคุณภาพบริการ (r = 0.66) ด้านการเข้าใจผู้ใช้บริการ ด้านความเป็นรูปธรรม ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ด้านความปลอดภัย และด้านการตอบสนองต่อผู้ใช้บริการส่งผลต่อความรักในตราสินค้าของผู้ใช้บริการจัดนำเที่ยวต่างประเทศในรูปแบบกรุ๊ปเหมาของบริษัท ดีว่า เวเคชั่น จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
โดยชื่นงาม ป., & แก้วนุช ก. . (2023). ปัจจัยคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความรักในตราสินค้าของผู้ใช้บริการจัดนำเที่ยวต่างประเทศในรูปแบบกรุ๊ปเหมาของบริษัท ดีว่า เวเคชั่น จำกัด. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 171–184. https://doi.org/10.14456/jra.2023.62
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ เทิดเกียรติ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยปี 2562. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา, ชาลิสา พงศ์ชัยไพบูลย์ และณัฐพัชร์ ธิติพิมลพรรณ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยเดินทางท่องเที่ยว ต่างประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(1), 36–54.

มัชฌิมา อุดมศิลป์. (2016). การจัดการความปลอดภัยด้านการเดินทางท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันตกสู่ประชาคมอาเซียน: พันธกิจที่ต้องทบทวน, วารสารวิชาการฉบับภาษาไทยมนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 9(3), 260-270.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ. เข้าถึงได้จาก www.kasikornresearch.com

อังศุมาลิน ประสพพันธ์ และไกรชิต สุตะเมือง. (2557). ปัจจัยแรงจูงใจในการเลือกใช้บริการท่องเที่ยวต่างประเทศ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 6(1), 37–50.

Balinado, J., et al. (2021). The effect of service quality on customer satisfaction in an automotive after-sales service. Journal of Open Innovation: Technology, Market and Complexity, 7(2), 116.

Bowman, D. & Narayandas, D. (2001). Managing customer-initiated contacts with manufacturers: The impact on share of category requirements and word-of mouth behavior. Journal of Marketing Research, 38(3), 281-297.

Chandra, W and Wirapraja, A. (2020). The Effect of Application Usability, Service Quality, and E-Satisfaction on Purchase Intention of Go Food Customers. Indonesian Journal of Information Systems, 3(1), 38-49.

Gitonga, J. (2021). Influence of Tour Guiding Service Quality on Tourist Satisfaction in Masai Mara National Reserve, Narok Country. Kenya. (Master’s Thesis). Kenyatta University.

Intan, D., Lubis, W. & Harahap, W. (2021). Analisis Pengaruh Kualitas Layanan Terhadap Kepuasan Wisatawan Pada Agrowisata Sapi Perah Di Berastagi. Agrifor: Jurnal Ilmu Pertanian dan Kehutanan, 20(2), 279-288.

Lee, J. & Yu, B. (2018). The Effects of Export Diversification on Macroeconomic Stabilization: Evidence from Korea. No 2018-25, Working Papers, Economic Research Institute, Bank of Korea.

Mamman, A., Kayode, I. & Abdulrahaman, A. (2020). Service Quality and Customer Retention: A Study of Microfinance Customers in Kaduna North Local Government Area, Nigeria. European Journal of Business and Management, 12(14). 37-47.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. and Berry, L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40.

Ridha, M. and Harris, R. (2020). Service Quality Related to Customer Satisfaction with Umrah Worship Package Preparation at PT Macro Tour and Travel Jakarta: Spearman’s Correlation Coefficient. In Paper presented at the 3rd International Conference on Vocational Higher Education. Retrieved from https://www.atlantis-press.com/proceedings/icvhe-18/125938332

Sarkar, A. (2019). Validating a theoretical model for hotel brand love amongst young Indian tourists. Journal of Administrative and Business Studies, 5(4), 228-243.

Thi, K., Huy, T., Van, C., and Tuan, P. (2020). The effects of service quality on international tourist satisfaction and loyalty: Insight from Vietnam. International Journal of Data and Network Science, 4(2), 179-186.

UNWTO. (2011). Tourism towards 2030. Global Overview. Retrieved from https://www.e-unwto.org/doi/book/10.18111/9789284414024

UNWTO. (2018). Global and regional tourism performance. Retrieved from https://www.unwto.org/global-and-regional-tourism-performance

UNWTO. (2019). Global and regional tourism performance. Retrieved from https://www.unwto.org/global-and-regional-tourism-performance.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. (2nd Edition). New York: Harper and Row.