การพัฒนาชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พระครูรัตนสุตาภรณ์ (ธีรเดช โพธิ์ทอง)
พระราชรัตนสุธี (ขวัญรัก เกษรบัว)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก 2) ส่งเสริมการพัฒนา ชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และ 3) สร้างชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย บ้านน้ำปาด บ้านมุงเหนือ บ้านลำภาศ บ้านหัวเขา และบ้านผารังหมี ซึ่งเป็นชุมชนในที่ราบหุบเขา ผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวอีสานอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานร่วมกับชาวภาคกลาง วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาจึงคล้ายกับชาวอีสาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนส่วนใหญ่ผลิตจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งมีมะม่วงเป็นวัตถุดิบสำคัญและมีชื่อเสียงอย่างมาก 2) การส่งเสริมการพัฒนาชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก มีแนวทางหรือขั้นตอนการส่งเสริมการพัฒนาชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ การกำหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการถ่ายทอดความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ให้สมบูรณ์และเป็นระบบ และ 3) ชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย ประวัติความเป็นมาของอำเภอเนินมะปราง ทรัพยากรการท่องเที่ยวของอำเภอเนินมะปราง ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของอำเภอเนินมะปราง ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอเนินมะปราง และเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนในเขตอำเภอเนินมะปราง

Article Details

How to Cite
พระครูรัตนสุตาภรณ์ (ธีรเดช โพธิ์ทอง), & พระราชรัตนสุธี (ขวัญรัก เกษรบัว). (2023). การพัฒนาชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 17–34. https://doi.org/10.14456/jra.2023.52
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2562). ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านน้ำปาด หมู่ที่ 2 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน กระทรวง มหาดไทย.

จิริณี สินุธก. (2543). วิถีชีวิตและภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวสวนลองกอง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563. (2563, 22 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137. ตอนพิเศษ 93 ง, หน้า 16.

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135. ตอนที่ 82 ก, หน้า 21.

วัชราภรณ์ จันทร์ขำ. (2547). ศักยภาพของชุมชนไทลื้อในการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาบ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุจิตราภรณ์ จุสปาโล. (2554). การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่เกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล. (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2552). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating company. Oxford, NY: Oxford University Press.