การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบนฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาและพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ฉัตรธิดา หยูคง
ศักรินทร์ ชนประชา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากภูมิปัญญาและพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 22 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสัมภาษณ์กลุ่ม 3) แบบสังเกตการมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การปรับสูตรผลิตภัณฑ์สมุนไพร นำ “เสม็ดขาว” พืชอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลบางกล่ำเข้ามาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้ง 6 ชนิด 2) การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ดำเนินการพัฒนาภายใต้ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนนำเสนอถึงภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ของชุมชนผ่านสัญลักษณ์บนฉลากผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 2.1) ชื่อผลิตภัณฑ์ “ณ หอมฟุ้งเจ้า” สะท้อนถึงความผูกพันต่อเจ้าอาวาสและวัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน 2.2) สัญลักษณ์ศรีวิชัย สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ภาคใต้ ตลอดจนวัฒนธรรมพื้นถิ่น 2.3) สัญลักษณ์รูปศาลา 100 ปีของวัดคูเต่า สะท้อนถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่ถูกถ่ายทอดและสืบต่อจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และ 2.4) สมุนไพรเสม็ดขาว สะท้อนถึงพืชอัตลักษณ์ชุมชน ซึ่งถือเป็นต้นทุนทางทรัพยากรของชุมชน

Article Details

How to Cite
หยูคง ฉ. ., & ชนประชา ศ. . (2023). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรบนฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาและพืชอัตลักษณ์ท้องถิ่นของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 201–214. https://doi.org/10.14456/jra.2023.64
บท
บทความวิจัย

References

เพ็ญนภา ทิพย์สุราษฎร์. (2559). การศึกษาพืชสมุนไพรท้องถิ่นและภูมิปัญญาด้านการใช้พืชสมุนไพร กรณีศึกษา: อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2547). พลวัตสุขภาพกับการพึ่งตนเอง: ภาคชนบท. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.

กรพันธ์ โสมะเกษตริน. (2551). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นศรีสะเกษเพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.): มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2540). ไร่นาสวนผสมตามแนวทฤษฎีใหม่. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

จักรพันธ์ โสมะเกษตริน. (2551). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นศรีสะเกษ เพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร: คณะวิทยาการจัดการ.

ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์และคณะ. (2551). การออกแบบและพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมสุรินทร์. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.): มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ธนิตย์ หนูยิ้ม และบุญชุบ บุญทวี. (2542). ไม้เสม็ดขาว. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุ.

มรกต กำแพงเพชรและคณะ. (2562). คุณลักษณะผู้ประกอบการเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจเกษตรสีเขียว. วารสาร ธุรกิจปริทัศน์, 11(1), 262-275.

สุภาภรณ์ ปิติพร. (2552). บันทึกของแผ่นดิน 1: หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์.

Davenport, T.H. and Prusak, L. (1998). Working Knowledge: How Organizations Manage What They Know. Boston: Harvard Business School Press.

UNESCO. (2011). Sustainability of Community Learning Centres: Community Ownership and Support. Bangkok: UNESCO.