การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องฆราวาสมุนี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเรื่องการบรรลุธรรมของฆราวาสหรือฆราวาสมุนีในพระพุทธศาสนา พบว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เปิดกว้างสำหรับคนทุกคนให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรม มีเป้าหมายของการบรรลุธรรมจากระดับพื้นฐานไปสู่ระดับสูง 4 ระดับ คือ ระดับโสดาบัน ระดับสกทาคามี ระดับอนาคามี และระดับอรหันต์ ผู้ที่สามารถเข้าถึงธรรมทั้ง 4 ระดับนี้ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะนักบวชเท่านั้น ฆราวาสก็สามารถเข้าถึงธรรมขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาได้ด้วย เช่น พระเจ้าสุทโธทนะ นางวิสาขา พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น ด้วยความที่ฆราวาสสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับนักบวช จึงทำให้ผู้ที่ไม่พร้อมจะออกบวชสามารถเลือกปฏิบัติธรรมในสภาวะที่เป็นฆราวาสได้ เรียกว่า ฆราวาสมุนี หรืออาคารมุนี หมายถึง ผู้มีปฏิปทาเพื่อความเป็นผู้รู้ในรูปแบบของการเป็นฆราวาส แต่มีความประพฤติเหมือนนักบวช โดยมีแนวปฏิบัติ 3 ป. คือ 1) ปสาทะ เลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง 2) ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ข้องเกี่ยวด้วยกามคุณ และ 3) ประพฤติธรรมอย่างจริงจังไม่ย่อหย่อน การปฏิบัติตามแนวทางทั้ง 3 นี้เรียก โมนัยปฏิปทา คือ รูปแบบการปฏิบัติสำหรับการเป็นมุนี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จุฑาภัค หริรักษ์ธำรง. (2560). รูปแบบการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เตชิน อิสระภาณุวงค์. (2561). ศึกษาการบรรลุธรรมของฆราวาสที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทองย้อย แสงสินชัย. (2558). ธรรมธารา ฆราวาส (บาลีวันละคำ 969). เข้าถึงได้จาก https://dhamtara.com/?p=6757
นริศ จรัสจรรยาวงศ์. (2560). ฆราวาสมุนี เสถียร โพธินันทะ พ.ศ. 2472-2509. ศิลปวัฒนธรรม, 39(2), 96-123.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). การสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2558). ทางดำเนินของมุนี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์ จำกัด.
วิเวกา นาคร. (2560, มีนาคม 13). ดังได้สดับมา. มติชนสุดสัปดาห์.