การพัฒนาสู่ความทันสมัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

ทศพล วัฒนานุกูลวงศ์
สุเมษย์ หนกหลัง
กิตติกร สันคติประภา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาสู่ความทันสมัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษาไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึกได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และนิสิตจากสถาบันอุดมศึกษา 6 แห่ง จากสถาบันอุดมศึกษาที่มีเกณฑ์การประเมินมหาวิทยาลัยสีเขียวอยู่ในระดับสูง รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 24 คน ด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระและการตรวจสอบข้อมูลแบบ 3 เส้า 2 รูปแบบ คือ วิธีการเก็บข้อมูล และระดับของบุคคลในการให้ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า อิทธิพลของการพัฒนาสู่ความทันสมัยต่อการกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 นโยบายการพัฒนาประเทศสู่ความทันสมัยกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กับแผนแม่บทการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านระบบการศึกษา และแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาประเทศซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของเศรษฐกิจและสังคมโลก เพราะทรัพยากรธรรมชาติและเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคที่ผ่านมา องค์การสหประชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาสู่ความยั่งยืนเพื่อให้ประเทศภาคีนำไปปรับใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศตน ประเทศไทยจึงได้นำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาวางกรอบแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านระบบการศึกษา ส่วนที่สอง การจัดกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 5 ด้าน ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา ด้านหลักสูตรการสอน ด้านการจัดการหลักสูตร และด้านการบริหารสถาบันอุดมศึกษา ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาสู่ความทันสมัยแทบทั้งสิ้น โดยการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางของการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถาบันอุดมศึกษา

Article Details

How to Cite
วัฒนานุกูลวงศ์ ท. ., หนกหลัง ส. ., & สันคติประภา ก. . (2023). การพัฒนาสู่ความทันสมัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 359–376. https://doi.org/10.14456/jra.2023.93
บท
บทความวิจัย

References

เอลวิส โคตรชมภู และจุฬาพรรณ ภรณ์ธนะแพทย์. (2565). การบริหารทุนมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 7(1), 1017-1028.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). รายจ่ายงบประมาณประจำปี. เข้าถึงได้จาก https://doc.deqp.go.th/Budget?yr=2564

ปิยศักดิ์ ถีอาสนา. (2560). ยุทธศาสตร์พัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1), 64-75.

มณี จันทร์ยืนคง และศรุตยา สุขเดช. (2563). แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 70-78.

วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์. (2554). การศึกษากับการพัฒนาประเทศ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 1(1), 7-8.

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2561). ความมั่นคงทางอาหารกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. วารสารลูกโลกสีเขียว, 64-72.

สมพง เกษานุช. (2564). การพัฒนาสื่อนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(7), 183-197.

สมหวัง ธีระวณิชตะกูล. (2022). นโยบายพัฒนาการศึกษาชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 9. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 14(1), 15-29.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ. ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570. (อัดสำเนา).

สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2565). มศว 292 วิทยาศาสตร์ กุญแจสู่การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล. (อัดสำเนา).

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2562). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์: จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ศยาม.

Armin, R., Sumper, A., & Davarpanah, A. (2020). Energy sustainability analysis based on SDGs for developing countries. Energy Sources, Part A: Recovery, Utilization, and Environmental Effects, 42(9), 1041-1056.

Buasuwan, P. (2018). Rethinking Thai higher education for Blueprint Thailand 4.0. Asian Education and Development Studies, 7(2), 157-173.

Buonamano, R. (2010). The Problem of Subjectivity and the Critique of Human Rights After Foucault. Griffith Law Review, 19(2), 288-306.

Chalamwong, Y., & Suebnusorn, W. (2018). Vocational Education in Thailand: Its Evolution, Strengths, Limitations, and Blueprint for the Future. In Education in Thailand. Singapore : Springer.

Collin, M., & Weil, D. N. (2020). The effect of increasing human capital investment on economic growth and poverty. Journal of Human Capital, 14(1), 43-83.

Foucault, M. (2019). Power: the essential works of Michel Foucault 1954-1984. UK. : Penguin.

Quimbayo Ruiz, G. A. (2018). People and urban nature: The environmentalization of social movements in Bogotá. Journal of Political Ecology, 25(1), 525-547.

Ris, V. (2021). The Environmentalization of space and listening: An archaeology of noise-canceling concentration playlists. Sound Effects-An Interdisciplinary Journal of Sound and Sound Experience, 10(1), 158-172.

UNDP. (2021). The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene. (Human Development Report 2020). Retrieved from https://hdr.undp.org/content/human-development-report-2020