การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลสารสานเทศ 2) พัฒนาระบบสารสนเทศ 3) ประเมินความความพึงพอใจต่อการใช้ระบบ และ 4) จัดทำคู่มือระบบสารสนเทศ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 297 คน คนโดยใช้วิธีการเลือกแบบหลายขั้นตอน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจฯ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ประกอบด้วย ผลการศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประกอบด้วย ด้านฝ่ายงานวิชาการ ด้านฝ่ายบริหารทรัพยากร ด้านฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ และด้านฝ่ายกิจการนักเรียนนักศึกษา 2) ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารฯ ผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ 3) ความพึงพอใจต่อการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบที่พัฒนาขึ้นนี้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}  = 4.82, S.D.= 0.39) ด้านที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ด้านความง่ายต่อการใช้งาน (gif.latex?\bar{X} = 4.87, S.D.= 0.33) รองลงมาคือ ด้านประสิทธิภาพ (gif.latex?\bar{X} = 4.85, S.D.= 0.37) ด้านการรักษาความปลอดภัย (gif.latex?\bar{X} = 4.84, S.D.= 0.37) ตามลำดับ ส่วนด้านที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านตรงตามความต้องการ และด้านสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ (gif.latex?\bar{X} = 4.78, S.D.= 0.43) และ 4) ผลการจัดทำคู่มือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย เริ่มต้นการใช้งานระบบ/ขั้นตอนการทำงาน การสร้างและบันทึกรายงานผลข้อมูล รายละเอียดการใช้งานทั่วไป

Article Details

How to Cite
เพชรสมบัติ พ. (2023). การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 229–240. https://doi.org/10.14456/jra.2023.66
บท
บทความวิจัย

References

ชลธาร สมาธิ. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

มาตรฐานการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2559. (2559, 14 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 258, หน้า 23-25.

ปิยนันท์ เสนะโห. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 19(1), 27-43.

ยุทธพล ไพชนะ, จิรศักดิ์ เรืองรังสี และเมธิชญญ์ ปรัชญ์ชญางกูร. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแบบสอบถามออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.): มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์.

รัตพีรพัฒน์ ทะมานนท์. (2561) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา. วารสาร มจร หริภุญปริทรรศน์, 2(2), 78-88.

รัฐนันท์ วุฒิเดช. (2549). ระบบสารสนเทศการให้บริการของศูนย์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

หทัยชนก แจ่มถิ่น และอนิรุทธ์ สติมั่น. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 893-894.

สุเทพ ไชยวุฒิ. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Johnson, D. W., & Johnson, R. (1994). Leading the cooperative school. (2nd ed.). Edina, MN: Interaction Boo.

Kolb, D. (1984). Experience learning. Retrieved from: http://www.ospper.dk/speciale/ book/book35. html.