การวิเคราะห์ช่องว่างของคุณภาพการจัดการเรือนจำ

Main Article Content

จรัสสา การเกษตร
พิศมัย จารุจิตติพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการจัดการเรือนจำที่คาดหวังตามเกณฑ์มาตรฐานเปรียบเทียบกับคุณภาพการจัดการเรือนจำที่เกิดขึ้นจริง และ 2) ศึกษาช่องว่างคุณภาพการจัดการเรือนจำที่คาดหวังตามเกณฑ์มาตรฐานและคุณภาพการจัดการเรือนจำที่เกิดขึ้นจริง เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรือนจำให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำแห่งองค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (ข้อกำหนดแมนเดลา) และมาตรฐานเรือนจำด้านการบริหารจัดการ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการเรือนจำที่คาดหวังตามเกณฑ์มาตรฐาน และคุณภาพการจัดการเรือนจำที่เกิดขึ้นจริง จากผู้บริหารเรือนจำ จำนวน 143 แห่ง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ช่องว่างและการจัดลำดับความสำคัญ โดยใช้ค่า ดัชนี PNI modified ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพการจัดการเรือนจำด้านที่มีความคิดเห็นของคุณภาพการจัดการเรือนจำที่เกิดขึ้นจริง อยู่ในระดับเดียวกับที่คาดหวังตามเกณฑ์มาตรฐานสหประชาชาติ (ข้อกำหนดแมนเดลา) ได้แก่ ด้านสภาพทางกายภาพของการจำคุก (ระดับมากที่สุด) ด้านความมั่นคงปลอดภัย การรักษาระเบียบวินัย (ระดับมากที่สุด) และด้านระบบเรือนจำ (ระดับมากที่สุด) ส่วนเกณฑ์มาตรฐานเรือนจำด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (ระดับมากที่สุด) ระบบการบริหารงานเรือนจำ (ระดับมากที่สุด) และด้านแผนการบริหารการใช้เงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ (ระดับมาก) และ 2) เมื่อวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างคุณภาพการจัดการเรือนจำตามเกณฑ์มาตรฐานสหประชาชาติ (ข้อกำหนดแมนเดล่า) ที่คาดหวังกับคุณภาพการจัดการที่เกิดขึ้นจริง ด้านที่มีค่า PNI modified มากที่สุด คือ ด้านเจ้าหน้าที่เรือนจำ (PNI modified  = 0.1144) ส่วนเกณฑ์มาตรฐานเรือนจำด้านการบริหารจัดการ คือ ด้านการมีระบบการสื่อสาร (PNI modified  = 0.1054) โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ กรมราชทัณฑ์ต้องวางแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและด้านการบริหารข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ รวมทั้งผู้บริหารต้องจัดสภาพการทำงานในเรือนจำให้เหมาะสม เอื้อต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำ พัฒนาเสริมทักษะสร้างความเป็นมืออาชีพ และส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

Article Details

How to Cite
การเกษตร จ. ., & จารุจิตติพันธ์ พ. . (2023). การวิเคราะห์ช่องว่างของคุณภาพการจัดการเรือนจำ . วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 185–200. https://doi.org/10.14456/jra.2023.63
บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2564). แผนปฏิบัติราชการกรมราชทัณฑ์ 3 ปี พ.ศ. 2563-2565. (อัดสำเนา)

กรมราชทัณฑ์. (2564). ผลการดำเนินงานตามนโยบายอธิบดีกรมราชทัณฑ์ (Quick Win). เข้าถึงได้จาก http://plan.correct.go.th/uploads/2021/04/quickwin.

กรมราชทัณฑ์. (2565). สถิติผู้ต้องขังราชทัณฑ์. เข้าถึงได้จาก http://www.correct.go.th/ rt103pdf/report_index.php.

ชานนท์ สุวรรณแทน. (2559). การประยุกต์ Gap Analysis เพื่อปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพ กรณีศึกษา บริษัท เวลธ แอดวานซ์ (1991) จํากัด. (สารนิพนธ์วิศวกรรมอุตสาหการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชุติเดช ห่มสิงห์. (2560). การจัดการความรู้ด้านการข่าวกรองเพื่อการควบคุมผู้ต้องขัง กรณีศึกษา เรือนจำพิเศษพัทยา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอมมิกา ทองอุ่น, เชษฐ รัชดาพรรณาธิคุณ, วีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์ และวริศรา ศิริสุทธิเดชา. (2564). การปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังฉบับปรับปรุง (ข้อกำหนดแมนเดลา) ศึกษากรณี: เรือนจำพิเศษธนบุรี. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 14(2), 17-36.

UN Office on Drugs and Crime-UNODC. (2017). Assessing compliance with the Nelson Mandela Rules A checklist for internal inspection mechanisms. Retrieved from https://www.unodc.org › justice-and-prison-reform.