สนามสังคมข้ามพรมแดนกับการแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจของชาวจีนอพยพรุ่นใหม่และผลกระทบด้านความมั่นคงในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนกร วรพิทักษานนท์

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปรากฏการณ์การแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจในการเป็นผู้ประกอบการของชาวจีนอพยพรุ่นใหม่ที่สร้างผลกระทบต่อความมั่นคงปลายทาง โดยนำเสนอส่วนหนึ่งของข้อมูลการสัมภาษณ์ชาวจีนรุ่นใหม่ที่เข้ามาเรียนในสถาบันสอนภาษาไทยในกรุงเทพมหานครจากประสบการณ์วิจัยของผู้เขียน และวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีการเคลื่อนย้ายศึกษาในแนวคิดมโนทัศน์สนามสังคมข้ามพรมแดน ผลการศึกษา พบว่า ชาวจีนอพยพรุ่นใหม่เคลื่อนย้ายเข้ามาด้วยวัตถุประสงค์ 4 ประการ ประกอบด้วย การทำงาน การศึกษา การติดตามเพื่อย้ายถิ่น และการมาแสวงหาโอกาส ซึ่งทั้งหมดล้วนแสวงหาโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการและได้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านปฏิสัมพันธ์ด้วยจุดร่วมทางอัตลักษณ์วัฒนธรรมจีน ทำให้ชั้นเรียนของสถาบันสอนภาษาไทยได้กลายเป็นสนามสังคมของชุมชนข้ามพรมแดนที่มีจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ทั้งหมดได้เชื่อมต่อกับโครงสร้างอำนาจผ่านนโยบายรัฐไทยภายใต้แนวคิดการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนของต่างชาติและผู้ประกอบการใหม่ ที่นับได้ว่าเป็นปัจจัยดึงดูดการเคลื่อนย้ายถิ่น แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตแต่ปรากฏการณ์นี้ได้ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อความมั่นคงด้านอาชีพและที่อยู่อาศัยของคนในท้องถิ่น หรืออาจกล่าวได้ว่าปรากฏการณ์นี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการขยายอาณานิคมทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวจีนสู่ดินแดนไทย ดังนั้น จึงมีข้อสังเกตต่อรัฐไทยในแง่ของการทบทวนนโยบายการพัฒนาด้านการลงทุนทางเศรษฐกิจ เพื่อลดช่องว่างการแสวงหาโอกาสที่เกินความสมเหตุสมผลของชาวต่างชาติโดยคำนึงถึงความมั่นคงของคนในท้องถิ่นประกอบด้วย

Article Details

How to Cite
วรพิทักษานนท์ ธ. (2023). สนามสังคมข้ามพรมแดนกับการแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจของชาวจีนอพยพรุ่นใหม่และผลกระทบด้านความมั่นคงในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 359–376. https://doi.org/10.14456/jra.2024.2
บท
บทความวิชาการ

References

ดนุพล อริยสัจจากร. (2558). สถานการณ์และผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในภูมิภาคอาเซียน. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เตือนใจ ศรีละมัย. (2553). อุปสรรคในกฎหมายการลงทุนของไทยในการขอบัตรส่งเสริมสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(1), 56-72.

นฤมิต หิญชีระนันทน์และคณะ. (2563). การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและผลกระทบที่เกิดขึ้น: กรณีศึกษาการทำไร่กล้วยหอมขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสังคม, 43(1), 177-206.

นาริตา ชัยธิมา. (2560). การเคลื่อนย้ายของนักเรียนจีนสู่อุษาคเนย์: กรณีนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 8(2), 173-192.

นารีรัตน์ ปริสุทธิวุฒิพร, สมชัย ภัทรธนานันท์, และชยันต์ วรรธนะภูติ. (2561). ผู้ค้าจีนกับการสร้างตลาดและวงจรการค้าในนครหลวงเวียงจัน. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(2), 138-152.

ประจิตร ป้อมอรินทร์. (2563). ความสัมพันธ์ไทย-จีนสมัยโบราณและการท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีน. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน, 7(1), 169-180.

ยศ สันตสมบัติ. (2557). มังกรหลากสี: การขยายอิทธิพลเหนือดินแดนและพันธกิจเผยแผ่อารยธรรมในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง. (2543). จากอาสำถึงหยำฉา ตำนานคนกวางตุ้งกรุงสยาม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ศุภการ สิริไพศาล. (2552). ยิวแห่งบูรพาทิศ: ชาวจีนโพ้นทะเลในทัศนะชนชั้นปกครองสยาม. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 4(2), 79-102.

สกินเนอร์, จี วิลเลียม. (2529). สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. กรุงเทพ: ไทยวัฒนาพานิช.

สักกรินทร์ นิยมศิลป์. (2555). คลื่นลูกที่สี่: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับการย้ายถิ่นของชาวจีนยุคใหม่. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์. (2562). การทูตวิชาการและความไม่รู้ในความสัมพันธ์ไทย-จีน. วารสารประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์, 6(2), 198-253.

หม่า เทา. (2558). คนจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่: กรณีศึกษาผู้อพยพคนจีนในประเทศไทย. วารสารกาสะลองคำ, 9(2), 147-159.

อมร ฟ้ามุ่ย. (2554). นโยบายของไทยต่อการอพยพของชาวจีนระลอกใหม่ : ศึกษากรณีอำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของจังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรัญญา ศิริผล. (2561). การเคลื่อนย้ายของคนจีนกับบทบาทรัฐจีนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรัญญา ศิริผล. (2561). ผู้ประกอบการจีนรุ่นใหม่กับการเปลี่ยนวัฒนธรรมการค้าชายแดนภาคเหนือไทย. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(2), 139-157.

Ong, A. (1997). Chinese modernities: Narratives of nation and of capitalism. In A.Ong & M.D. Nonini (Eds.), Undergrounded empires: The cultural politics of modern Chinese transnationalism. New York: Routledge.

Thansettakij. (2020). คอนโดดัมพ์ราคาครั้งแรกรอบ 8 ปีหลังน้ำท่วมใหญ่. เข้าถึงได้จาก https://www.thansettakij.com/content/property/430436?fb=

Thansettakij. (2023). “จีน” เปิดประเทศ ความหวังกำลังซื้ออสังหาไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.thansettakij.com/real-estate/552561

Yanqing Ping. (2563). ผู้อพยพทางการศึกษา: การเคลื่อนย้ายรูปแบบใหม่ของครอบครัวชาวจีน กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต