รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต 2) พัฒนารูปแบบ และกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และ 3) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ รวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 635 คน และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) รูปแบบ และกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต คือ 2.1) รูปแบบการส่งเสริมจิตสำนึกต่อต้านการทุจริต การเสริมสร้างพลังความเข้มแข็งต่อต้านการทุจริต การส่งเสริมกลไก และเครื่องมือต่อต้านการทุจริต และ การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงต่อต้านทุจริต 2.2) กิจกรรมการเสริมสร้างต้นกล้าคุณธรรม จริยธรรม และการเสริมสร้างจิตสำนึกต่อต้านการทุจริต การเสริมสร้างพลังการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนพลัง “บ-ว-ร” ต่อต้านการทุจริต การเสริมสร้างบทบาทพระสงฆ์ในการป้องกันการทุจริต และการส่งเสริมวัฒนธรรมการดำเนินวิถีชีวิตของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยเครือข่ายภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา โดยมีการพัฒนาศักยภาพ และกระบวนการเครือข่าย ได้แก่ 1) การให้ข้อมูลข่าวสาร รับฟังความคิดเห็น คำปรึกษาหารือ วางแผนร่วมกัน มีบทบาทร่วมปฏิบัติ 2) กระบวนการเสริมสร้างเครือข่าย คือกระบวนการความคิดร่วมกัน ตระหนักร่วมกันสร้าง ร่วมกันพัฒนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่น: ว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อบปี้.
นิตยา โพธิ์นอก และคณะ. (2564). การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ปรียานุช วัฒนกูล และคณะ. (2563). การศึกษารูปแบบการสร้างเครือข่ายเยาวชนเพื่อส่งเสริมค่านิยมสุจริตและการต่อต้านการคอร์รัปชัน จังหวัดมหาสารคาม. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์.
ภมรรัตน์ ชุมภูประวิโร และคณะ. (2561). การปลูกฝังความสุจริตของเยาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.): มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). รายงานประจำปี 2551. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2549). คอร์รัปชั่นแบบเบ็ดเสร็จ. กรุงเทพฯ: รวมด้วยช่วยกัน.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 2561-2565. กำแพงเพชร: สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร.
สำนักงาน ป.ป.ช.. (2561). หลักสูตรโค้ชเพื่อการรู้คิดต้านทุจริต. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ป.ป.ช..
สำนักงาน ป.ป.ช.. (2564). หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ป.ป.ช..