รูปแบบการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาด สู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

พระมหาบุญเลิศ ช่วยธานี
พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร
พระปลัดประพจน์ อยู่สำราญ
อาภากร ปัญโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรชาวไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลังอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอรายงานแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรอาสาสมัคร จำนวน 20 ครอบครัว ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมในหลักสูตรเกษตรกรผู้เปลี่ยนชีวิต ในเรื่อง “ก้าวสู่ชีวิตแบบพอเพียง” ที่มุ่งให้เกษตรกรเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม และ “ปฏิบัติการสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ที่มุ่งให้เกษตรกรได้สร้างความเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ โดยทำการออกแบบพื้นที่ว่างบริเวณบ้าน ไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลังให้เป็นพื้นที่สร้างความมั่นคงทางอาหารและทดลองปลูกผักสำหรับบริโภคในครัวเรือนมากกว่า 10 ชนิด ในภาพรวมได้มีจัดสรรพื้นที่เฉลี่ยครอบครัวละ 59 ตารางวา เมื่อได้รับผลผลิตเกษตรกรสามารถลดรายจ่ายเกี่ยวกับค่าผักที่ใช้ประกอบอาหารได้เฉลี่ยครอบครัวละ 54 บาทต่อวัน และยังสามารถเพิ่มรายได้จากการขายผักเฉลี่ยวันละ 150 บาท โดยการจำหน่ายผลผลิตผ่านกลุ่มสมาชิกเกษตรอินทรีย์ที่ร่วมกันตั้งขึ้นและร้านค้าในชุมชน ทำให้กลุ่มเกษตรกรแกนนำได้มีอาหารที่ปลอดภัยสำหรับใช้บริโภค สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว และสร้างความสุขในชุมชนผ่านการเรียนรู้ส่งต่อสุขภาพที่ดีด้วยการแบ่งปันอาหารที่ปลอดภัยแก่กันและกัน

Article Details

How to Cite
ช่วยธานี พ. ., ฐิติปสิทธิกร พ., อยู่สำราญ พ. ., & ปัญโญ อ. (2023). รูปแบบการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาด สู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง . วารสารวิจยวิชาการ, 6(3), 1–16. https://doi.org/10.14456/jra.2023.51
บท
บทความวิจัย

References

ชยุต อินทร์พรหม (2561). เศรษฐกิจพอเพียงกับเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ ทำนา 1 ไร่ ได้ 1 แสน. วารสารพัฒนาสังคม, 20(2), 1-16.

พระมหาบุญเลิศ ช่วยธานี. (2546). การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวของชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรี : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). คณะพัฒนาสังคม: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรม จาระณะ และคณะ. (2554). ศึกษารูปแบบการลดต้นทุนการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน: กรณีศึกษาพืชเศรษฐกิจ 3 ชนิด ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เริงวิชญ์ นิลโคตร. (2564). การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาเครือข่ายเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 14-29.

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานประจำปี 2561 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (อัดสำเนา)

แสวง รัตนมงคลมาศ. (2534). ทฤษฎีสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ชมรมนักพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลภูน้ำหยด. (2564). ประวัติ/สภาพทั่วไปตำบลภูน้ำหยด. เข้าถึงได้จาก https://www.phunamyod.go.th