การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาด้านการบริหารจัดการของกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน และ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากประชากรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน จำนวน 13 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ การสอบถาม และการสนทนากลุ่มแบบเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาด้านแรงงานสมาชิกกลุ่มเป็นผู้สูงอายุ ขาดแรงจูงใจในการผลิต ด้านการเงิน ขาดงบประมาณในการดำเนินการ ด้านวัตถุดิบ อุปกรณ์การผลิตมีไม่เพียงพอ ไม่มีระบบการติดตามวัตถุดิบมาจากแหล่งผลิตใด ด้านการวางแผน ไม่ได้มีการวางแผนในการดำเนินงานที่ชัดเจน ไม่มีการประชุมและวางแผนประจำปี ด้านการจัดองค์กร มีโครงสร้างองค์กรแบบหลวม ๆ สมาชิกกลุ่มไม่ทราบบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ด้านการจัดการบุคคล ขาดแรงจูงใจ ไม่พึงพอใจในการทำงาน เงินค่าตอบแทนและสวัสดิการมีไม่เพียงพอ ด้านการอำนวยการ หัวหน้ากลุ่มไม่มีการมอบหมายให้สมาชิกภายในกลุ่มทำงานตามตำแหน่ง ด้านการควบคุม มีปัญหาการจัดทำบัญชีและควบคุมวัตถุดิบที่จะนำไปใช้ในการผลิต และ 2) รูปแบบในการบริหารจัดการที่เหมาะสม พบว่า ควรจัดทำรูปแบบ โครงสร้าง กิจกรรมที่เหมาะสม ควรรับสมาชิกกลุ่มที่เป็นคนรุ่นใหม่ ในชุมชนเพื่อมาช่วยในการด้านการผลิต การตลาด จัดหาแหล่งเงินทุนจากหน่วยงานทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุน จัดประชุมกันภายในกลุ่ม ร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด จัดทำโครงสร้างองค์กรแบบเป็นทางการขึ้น สร้างแรงจูงใจและแรงกระตุ้นให้ตั้งใจทำงานมากขึ้น มีระบบในการควบคุมวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มีการควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าทุกขั้นตอนการผลิตและมีระบบการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ชนิศฏ์สรฐ์ สืบสังข์ และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2558). การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกรุงเทพมหานครตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(3), 106-117.
ชมภูนุช หุ่นนาค ปภาวดี มนตรีวัต และ วิพร เกตุแก้ว. (2563). แนวทางการจัดการวิสาหกิจชุมชน:ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สาธิตการเกษตรร้านค้าชุมชน ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 13(2), 21-53.
ดอกจันทร์ คำมีรัตน์ บุญทัน ดอกไธสง และอิมรอน มะลูลีม. (2552). กลยุทธ์ในการบริหารของบริษัท เอ็นอีซีโทคิน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. เข้าถึงได้จาก http:// www.grad.vru.ac.th/ download4/141.pdf.
นงลักษณ์ ทองศรี. (2559). รูปแบบการจัดการของกลุ่มวิสาหกจิชุมชนผลติภัณฑ์ไทยจังหวัดบุรีรัมย์. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
นฤทัย สถิตอินทาพร, วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ. (2560). การจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมือง : กรณีศึกษา กลุ่มปลา 1 เดียว บ้านห้วยบง ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. ใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560 (น. 1753-1762). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุภา ประยงค์ทรัพย์. (2555). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กรณีประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ในวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนอีสาน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์.
วรรณพงค์ ช่วยรักษา. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา กลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมครามบ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมชาย น้อยฉ่ำ, วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ และสุภา แสงจินดาวงษ์. (2561). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษ), 130-139.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). ผลผลิตลำไยแยกตามจังหวัด ปี 2562. เข้าถึงได้จาก https://data.go.th/th/dataset/longan62
สุธี ขวัญเงิน. (2559). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.