รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) สร้างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบบันทึก แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 มีการวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้สถิติ EFA ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 11 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงด้วยการกำหนดคุณสมบัติ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญหรือผู้อำนวยสถานศึกษาที่มีวุฒิปริญญาเอกของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การบริหารความเสี่ยง (2) การใช้เทคโนโลยี (3) การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (4) การสร้างองค์กรนวัตกรรม (5) การมีวิสัยทัศน์ (6) บทบาทหน้าที่ และ (7) การทำงานเป็นทีม 2) ผลของการสร้างรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ส่วนนำ คือ 1) แนวคิดและหลักการพื้นฐานของรูปแบบ และ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา คือ องค์ประกอบของรูปแบบ และส่วนที่ 3 ส่วนการนำไปใช้ คือ 1) แนวทาง และ 2) เงื่อนไขความสำเร็จ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จุฑาธิป อินทรเรืองศรี. (2549). การศึกษาตัวชี้วัดความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2552). 11 บทบาทของผู้นำที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำที่ดี. เข้าถึงได้จาก http:// www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ: แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปริวัฒน์ ยืนยิ่ง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 330-344.
พิทักษ์ ทิพย์วารี. (2558). หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำทางนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันการพลศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 207-219.
Dean, A. S. (2014). Leaders’ Fostering of Innovation: A Phenomenological Study in Small Successful U.S. Biopharmaceuticals. (Doctoral Dissertation).The George Washington University.
Robert, F. B. & Jeff, Z. (2010). Leadership vacuums and overcoming barriers to innovation. Retrieved from http://www.business-strategy-innovation.com/ 2010/04/leadershipvacuums-and-overcoming.html.
Weberg, D. (2013). Innovation leadership behaviors: Starting the complexity journey. Burlington, NJ : Jones & Bartlett Learning.
Weiss, S. D. & Legand, P. C. (2011). Innovative intelligence. Ontario : John Wiley & Sons.