การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา และ 2) ประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 12 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และ 2) ประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิฯ ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา ประกอบด้วย 2 สมรรถนะ 5 องค์ประกอบ 17 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ (1) สมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ มี 3 องค์ประกอบ 7 ตัวบ่งชี้ และ (2) สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มี 2 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ และ 2) ผลการประเมินความเหมาะสมของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ดลวรรณ พวงวิภาต. (2562). องค์ประกอบสรรมรถนะครูผู้สอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัศณรงค์ จารุเมธีชน และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เยาวลักษณ์ มูลสระคู, สมนึก ภัททิยธนี และรัชนีเพ็ญ พลเยี่ยม. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CEFR) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.cri2.go.th/wp-content/uploads/2022/06/7
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). การลดระยะเวลาตามเงื่อนไขคุณสมบัติเฉพาะทำหรับวิทยฐานะของผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะสายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษา และสายงานนิเทศการศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://otepc.go.th/th/content_page/item/3268-4-2564.html
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา ใน ทศวรรษที่สอง 2552-2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.