ความฉลาดทางอารมณ์ ภาวะผู้นำ และการยอมรับความหลากหลายส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 5 จังหวัดชายแดนใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ 2) ระดับภาวะผู้นำ 3) ระดับการยอมรับความหลากหลาย 4) ระดับความสำเร็จในอาชีพ และ 5) ความฉลาดทางอารมณ์ ภาวะผู้นำ และการยอมรับความหลากหลายที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล จำนวน 375 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ด้านการสร้างแรงจูงใจให้ตนเองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) ภาวะผู้นำของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ผู้นำแบบทางสายกลางมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3) การยอมรับความหลากหลายของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า การยอมรับด้านอัตลักษณ์ทางสังคมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4) ความสำเร็จในอาชีพของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ความสำเร็จในอาชีพด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ 5) ความฉลาดทางอารมณ์ ภาวะผู้นำ และการยอมรับความหลากหลายส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรพยากรณ์ความสำเร็จในอาชีพของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จในอาชีพของเจ้าหน้าที่ตำรวจใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้ร้อยละ 56.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมสุขภาพจิต. (2543). สุขภาพจิตดีด้วยอีคิว. นนทบุรี : สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.
จริญญา ผาริโน. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาและความฉลาดทางอารมณ์ของตำรวจที่พยากรณ์จิตบริการของตำรวจ. วารสารจันทรเกษมสาร, 21(40), 9-18.
เจษฎา นกน้อย. (2552). การจัดการความหลากหลายในองค์กร: ตัวแบบทางด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเท่าเทียมกันของผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). คณะรัฐประศาสนศาสตร์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ฐาปนี เสาวภางค์วรกุล. (2552). เสียงเพรียกจากปัตตานี: การสร้างพื้นที่ทางสังคมและการต่อรองตัวตนคนมลายูมุสลิมภายใต้พหุวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนามนุษย์และสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณัฐพงศ์ ย่องบุตร และเกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์. (2559). ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่สืบสวนจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองกำกับการสืบสวน สถานีตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(1), 119-133.
ทิพย์ประภา พิศาลกิตติคุณ. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธัญญามาส โลจนานนท์. (2557). ภาวะผู้นำและแรงจูงใจในการทำงานที่ีส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2559). การจัดการความหลากหลายของบุคลากรในองค์การ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 5(2), 1-12.
ปาริฉัตร ตู้ดํา. (2557). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบทีมีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของผู้บริหารสตรีในองค์กรภาครัฐของไทย. WMS Journal of Management Walailak University, 3(3), 47-56.
พชร สุลักษณ์อนวัช. (2559). ความสำเร็จในอาชีพ เชาวน์อารมณ์ และความพึงพอใจในชีวิต โดยมีความภาคภูมิใจในตนเองเป็นตัวแปรสื่อ ของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา: บริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รักชนก แสวงกาญจน์, สฎายุ ธีระวณิชตระกูล และสิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 171-185.
วุฒิชัย สายบุญจวง. (2555). ความเป็นธรรมในทัศนะของชาวชุมชนมุสลิม: กรณีศึกษาชุมชนธรณีคำแขวงโคกแฝก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมยศ ปัญญามาก. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 3(2), 98-113.
สายฟ้า จิราวรรธนสกุล. (2558). รูปแบบภาวะผู้นำของหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดขอนแก่น. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(2), 252-269.
สุไรยา วานิ และมะรอนิง สาแลมิง. (2557). การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(1), 204-219.
Cooper, R. K. & Sawaf, A. (1997). Executive EQ Emotional Intelligence in Leadership and Organization. New York : Berkley.
Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence: Why It Can Metter More Than IQ. New York : Bantam Books.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kumarasamy, M. M., Pangil, F. & Isa, M. F. (2016). The effect of Emotional Intelligence on Police Officers’ Work–Life Balance: The Moderating Role of Organizational Support. International Journal of Police Science and Management. Retrieved from https://repo.uum.edu.my/id/eprint/18283/
Mayer, J. D. & Salovey, P. (1997). What is emotional intelligence?. In Salovey, P. and Sluyter, D. J. (Eds.). Emotional Development and Emotional Intelligence: Education Implications, 3(31), 3-34.
McClelland, D. C. (1961). The Achieving Society. New Jersey : D. Van Northland Company.
Miranda, H. R. (2016). The Correlation Between Emotional Intelligence and Decision Making Among Military Police Officers. Doctoral dissertation Doctor of Education. California : Brandman University.
Schafer, J. A. (2010). Effective Leaders and Leadership in Policing: Traits, Assessment, Development, and Expansion. Policing: An International Journal of Police Strategies and Management, 33(4), 644-663.
Thomas, M. (2018). Emotional Intelligence of Leaders and Its Effect on Burnout in Police Leaders. Emerging Leadership Journeys, 11(1), 142-159.