องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการเชิงรุก เพื่อการมีส่วนร่วมกับชุมชนเกษตรบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการเชิงรุก และ 2) ประเมินองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการเชิงรุก เพื่อการมีส่วนร่วมกับชุมชนเกษตรบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบการเรียนการสอนฯ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและแบบประเมินความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการเชิงรุก เพื่อการมีส่วนร่วมกับชุมชนเกษตรบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) ปัจจัยนำเข้า 1.2) กระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการเชิงรุก 1.3) ผลผลิต 1.4) กลไกควบคุมหรือการป้องกัน และ 1.5) ข้อมูลป้อนกลับ และ 2) ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการเชิงรุก อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.53) รองลงมาได้แก่ ความเป็นไปได้ขององค์ประกอบรูปแบบการเรียนการสอนฯ ( = 4.14, S.D. = 0.38) ความเหมาะสมขององค์ประกอบรูปแบบการเรียนการสอน ( = 4.14, S.D. = 0.69) และความถูกต้องขององค์ประกอบรูปแบบการเรียนการสอน ( = 4.00, S.D. = 0.58) อยู่ในระดับมาก ทุกองค์ประกอบมีความสอดคล้องกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กานต์ อัมพานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิชาความเป็นครู สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 20(2), 87-101.
ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0. กระทรวงศึกษาธิการ. เข้าถึงได้จาก: http://www.moe.go. th/moe/th/news/detail.php?NewsID
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2559). จะยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานครได้อย่างไร. เอกสารประกอบการประชุมยกระดับคุณภาพการศึกษา ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : แม็คเอ็ดดูเคชั่น.
ไพศาล บรรจุสุวรรณ์. (2561). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ในการยกระดับความรู้สู่ความเข้าใจการเมืองและประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(1), 166-190.
วิชุดา รัตนเพียร. (2542). การเรียนการสอนผ่านเว็บ: ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 27(3), 29-33.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. เข้าถึงได้จาก: https://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf
Arends, R. I. (1999). Learning to teach. (4th ed). Boston : McGraw Hill.
Joyce, B. & Weils, M. (1996). Models of Teaching. (3rd Ed.). Boston : Allyn & Bacon.
Joyce, B.; Weil, M. & Calhoun, E. (2004). Models of Teaching. (7th ed.). Boston : Allyn and Bacon.