กระบวนการแสดงสร้างสรรค์ เรื่องตำนานเมืองล่มสู่การพัฒนาเด็ก

Main Article Content

กมลชนก สุวรรณประเวก
สุรัตน์ จงดา
อัควิทย์ เรืองรอง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ การแสดงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เรื่องตำนานเมืองล่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด รูปแบบการแสดงสร้างสรรค์สำหรับเด็กเรื่องตำนานเมืองล่ม ให้เกิดเป็นสื่อการเรียนรู้ที่เผยแพร่เนื้อหาของตำนานที่มุ่งเน้นสอนให้เด็กเกิดคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และความกตัญญูผ่านการแสดง โดยมีแนวคิดเป็นละครสำหรับเด็กที่หลอมรวมนำเอาศิลปะหลากหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ศิลปะการแสดง คีตศิลป์ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วิจิตรศิลป์และวรรณศิลป์ที่ต้องอาศัยกระบวนการทางการละครเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบในการผสมผสานกับรูปแบบการแสดงที่หลากหลาย เพื่อเชื่อมโยงสู่การพัฒนาเด็กในปัจจุบัน ด้วยการนำมาสร้างขึ้นเป็นภาพการเคลื่อนไหวและใช้ศิลปะทางการเล่าเรื่องให้ผู้ชมเข้าถึงและคล้อยตาม โดยอาศัยดนตรี ฉาก แสงสี เสียงเพลง การแต่งกายของนักแสดงและเทคนิคต่าง ๆ ให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์การสื่อสารและเห็นจากการกระทำของตัวละคร ซึ่งการแสดงสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เรื่องตำนานเมืองล่มนั้นจะมีเรื่องราวและกลวิธีนำเสนอที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กมากที่สุด โดยเริ่มจากการออกแบบการเล่าเรื่องเพื่อนำมาเขียนบทละคร โดยเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ด้วยการเรียบเรียงมาจากเค้าโครงเดิมของตำนานและมีการปรับแต่งเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยและเข้าใจง่ายขึ้น รวมถึงการออกแบบองค์ประกอบทางการแสดงต่าง ๆ เช่นการใช้ดนตรีเพลงร้องที่มีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้ชมที่เป็นเด็ก การออกแบบเครื่องแต่งกายโดยยึดหลักประหยัดและเรียบง่าย รวมทั้งการออกแบบสร้างตัวละครหุ่นประกอบการแสดงที่เป็นการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หาได้ง่ายและราคาถูก นอกจากนี้ยังมีการออกแบบฉาก แสงสีและใช้เทคนิคพิเศษ เพื่อให้การแสดงมีความสมบูรณ์และน่าสนใจยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
สุวรรณประเวก ก. ., จงดา ส. ., & เรืองรอง อ. . (2023). กระบวนการแสดงสร้างสรรค์ เรื่องตำนานเมืองล่มสู่การพัฒนาเด็ก. วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 369–382. https://doi.org/10.14456/jra.2023.149
บท
บทความวิชาการ

References

กันยา สุวรรณแสง. (2542). การพัฒนาบุคลิกภาพและการปรับตัว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บำรุงสาส์น.

กุสุมา เทพรักษ์. (2548). กระบวนการสร้างสรรค์ละครสำหรับเด็กจากเรื่อง “เจ้าหญิง” ของบินหลา สันกาลาคีรี นักเขียนรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2548. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงแข บัวประโคน. (2546). การใช้สื่อละครเพื่อการพัฒนาชุมชน ของกลุ่มละครมะขามป้อม: กรณีศึกษาจากพื้นที่ทำงานที่มีบริบทแตกต่างกัน 4 พื้นที่. กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้ เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. เข้าถึงได้จาก http://skruteachingmethods.blogspot.com

พนิดา ฐปนางกูร. (2549). นโยบายการส่งเสริมศิลปะการละครเพื่อการพัฒนาเยาวชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรัตน์ ดำรุง. (2550). การละครสำหรับเยาวชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรัตน์ ดำรุง. (2565, 2 พฤษภาคม). การสร้างสรรค์ละครสำหรับเด็ก. (กมลชนก สุวรรณประเวก, ผู้สัมภาษณ์).

สดใส พันธุมโกมล.(2524). ศิลปะการละครเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การจัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. กรงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Dewey, J. (1900). Educational principles. The Elementary School.