แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชน

Main Article Content

อรรณพ นิยมเดชา
สุเมษย์ หนกหลัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชน และ 2) บูรณาการและสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการจัดหมวดหมู่ความรู้โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 50 ฉบับ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชน มี 4 ประการ คือ รู้เท่าทันการนิยามความหมายผู้สูงอายุตามแนวคิดสมัยใหม่ กระบวนการสร้างพลังในตนเองของผู้สูงอายุ มโนธรรมสำนึกต่อการสร้างพลังในตนเองของผู้สูงอายุ และทฤษฎีปฏิบัติการทางการสื่อสาร 2) กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย 5 แนวทาง คือ การทำความเข้าใจความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน การกระตุ้นให้ผู้สูงอายุรู้ในความสามารถของตนเอง การเปิดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างชุมชนกับผู้สูงอายุ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้แสดงความสามารถ และการสร้างบทบาทให้ผู้สูงอายุในชุมชน

Article Details

How to Cite
นิยมเดชา อ. ., & หนกหลัง ส. . (2023). แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชุมชน . วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 115–130. https://doi.org/10.14456/jra.2023.133
บท
บทความวิจัย

References

ชิดชงค์ ส.นันทนาเนตร. (2560). ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ฉบับปรับปรุง. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เณริกา เกิดนาสาร. (2563). รูปแบบการศึกษาตามแนวคิดเปาโล แฟร์เร่ เพื่อพัฒนาศักยภาพและการรู้หนังสือของผู้ต้องขังสตรีในเรือนจำเขต 9. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เบญจวรรณ อุปัชฌาย์ และสุรวุฒิ ปัดไธสง. (2558). นักสิ่งแวดล้อมที่รู้คิด: สิ่งประดิษฐ์สร้างทางการปกครองเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11(2), 24–43.

เบญจมาศ ยศเสนา. (2559). การเห็นคุณค่าผู้สูงอายุ. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 1-14.

ประโยชน์ ส่งกลิ่น. (2561). นโยบายสาธารณะแนวการตีความ. มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2553). คุณภาพสังคมกับคุณภาพประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

สโรชพันธุ์ สุภาวรรณ์. (2559). ปฏิบัติการในชีวิตประจำวันกับการต่อรองอัตลักษณ์ของผู้สูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2(2), 34-58.

สุวิชา เป้าอารีย์. (2559). ภาวะทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย ปี 2559. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (อัดสำเนา)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). คาดการณ์วัยแรงงาน ปี 2570. กองสถิติพยากรณ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (อัดสำเนา)

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2561). การเตรียมการเพื่อรองรับสังคม ผู้สูงอายุของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์ โอชา. สลค.สาร (พฤษภาคม-สิงหาคม).

อรรครา ธรรมาธิกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Avendano, M. & Cylus, J. (2019). The economics of healthy and active ageing series: Working at Older Ages. World Health Organization Regional Office for Europe. Copenhagen : Denmark.

Braun, V., & Clarke, V. (2012). Thematic analysis. In H. Cooper, P. M. Camic, D. L. Long, A. T. Panter, D. Rindskopf, & K. J. Sher (Eds.), APA handbook of research methods in psychology, 2, 57-71.

Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement. San Francisco : Jossey Bass Publisher.

Daniele, L. (2017). Discourses on Empowerment in Adult Learning: A View on Renewed Learning. IAFOR Journal of Education, 5(2), 49-64.

Freire, P. & Macedo, D. (2014). Pedagody of the Oppressed Paulo Freire. Kindle Edition, 30th Anniversary Edition : Bloomsbury Academic.

Freire, P. (2012). Pedagogy of the oppressed. Translated by Myra Bergman Ramos. New York : Continuum International Publishing Group.

Koulaouzides, G.A. (2017). Critical Reflection and Empowerment in adult Education Practice. Rotterdam, Zuid-Holland, The Netherlands : Sense Publishers.