องค์ประกอบภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จักรพงษ์ แสนสุริวงค์
วัลนิกา ฉลากบาง
วาโร เพ็งสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการใน 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 18 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร โดยการสังเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 แหล่ง 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 3) สัมภาษณ์ครูดีเด่น จำนวน 2 คน เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเพิ่มเติม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 คือ แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างแบบสรุปเพื่อเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4) ยืนยันองค์ประกอบของภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเหมาะสมของพฤติกรรมบ่งชี้ภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการยืนยันของผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู 2) ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร 3) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 4) ความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 5) การเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง 6) ความสามารถในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 7) การมีคุณธรรมและจริยธรรม

Article Details

How to Cite
แสนสุริวงค์ จ. ., ฉลากบาง ว. ., & เพ็งสวัสดิ์ ว. . (2023). องค์ประกอบภาวะผู้นำการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 97–114. https://doi.org/10.14456/jra.2023.132
บท
บทความวิจัย

References

จารุภัทร บุญส่ง. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางการสอนของหัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2555). การสอนอย่างเป็นกระบวนการ. วารสารวิชาการ, 15(1), 3-5.

ฐิติมา ไชยมหา. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). เรื่องการศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2559 (28 สิงหาคม 2559). กรุงเทพฯ : ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ.

นิตยา พรมพินิจ. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ประภาดา คนคล่อง. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนอนุบาลคำชะอี. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2553). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ : บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

รังสรรค์ สุทารัมย์. (2556). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำครูด้านการบริหารจัดการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 11 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รัชฎาพร พิมพ์พิชัย. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศิริพร กุลสานต์. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อนัตตา ชาวนา. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตตรวจราชการ ที่ 11. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Fansher, H. (2011). 21st Century Learning Environments: Building a Better School. Canada : Springbank Community High School.

Katzenmeyer, M. & Moller, G. (2001). Awakening the sleeping giant: Helping teachers develop as leaders. Thousand Oaks, CA : Corwin Press.

Krug, S. E. (1992). Instructional Leadership A Constructivist Perspective. Educational Administration Quarterly, 28, 430-443.

Richardson, A. & Mackenzie, S. (2006). Identified the characteristics and responsibilities of teacher leaders. Journal of Staff Development, 26(3), 54-59.

Suranna, K.J. & Moss, D.M. (2002). Exploring Teacher Leadership in the Context of Teacher Preparation. (Reports Research). Paper presented at the 83rd Annual American Educational Research Association Meeting, New Orleans, LA.

York-Barr, J. & Duke, K. (2004). What do we know about teacher leadership? Findings from two decades of scholarship. Review of Educational Research, 74(3), 255-316.