แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนฐานเอกลักษณ์ชุมชนในเมืองรองของภาคเหนือตอนล่าง 2

Main Article Content

ธัญยธรณ์ ตันโน
ทักษ์ อุดมรัตน์
อัจฉรา ศรีพันธ์
ชนัดดา ภูหงษ์ทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการเรียนรู้ และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนบนฐานเอกลักษณ์เมืองรองในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ แจกแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรงมากกว่า 0.5 กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำชุมชน OTOP นวัตวิถี โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 120 คน จาก 3 พื้นที่จังหวัดพิจิตร คือ บ้านเขาโล้น บ้านโพธิ์ประทับช้าง และบ้านหนองจิกสี การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ ด้วยเทคนิค SWOT Analysis สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวหรือผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากหน่วยงานภายนอกที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศ จำนวน 5 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนมีองค์ประกอบสำคัญในด้านการเรียนรู้ตามรูปแบบ KSAAM จำนวน 5 ด้าน 34 องค์ประกอบ พบว่า ภาพรวมระดับการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ทั้ง 3 หมู่บ้าน อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับสูงสุด คือ ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รองลงมา คือ ด้านความรู้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และด้านที่มีระดับต่ำสุด คือ ด้านทัศนคติต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 2) แนวทางพัฒนาการเรียนรู้ผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานเอกลักษณ์ชุมชนในเมืองรองของภาคเหนือตอนล่าง 2 ต้องอาศัยรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านการบริการ การสื่อสาร และการมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยวพัฒนาความรู้ของผู้นำต้องเริ่มต้นด้วยกระบวนการคิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือทำและควบคุมดูแล และทักษะการปฏิบัติมีส่วนร่วมของผู้นำและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
ตันโน ธ. ., อุดมรัตน์ ท. ., ศรีพันธ์ อ. ., & ภูหงษ์ทอง ช. . (2023). แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้นำชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนฐานเอกลักษณ์ชุมชนในเมืองรองของภาคเหนือตอนล่าง 2. วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 237–254. https://doi.org/10.14456/jra.2023.141
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2. (2561). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 (พ.ศ.2561-2565). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

กุลวดี ละม้ายจีน และคณะ. (2559). ศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในเขตพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี. Life Sciences and Environment Journal, 17(1), 190–199.

ฐิตาภา บำรุงศิลป์ และคณะ. (2561). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธ์ในจังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.

ปิ่นฤทัย คงทอง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ). บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(2), 331-366.

เมทินี ทะนงกิจ และคณะ. (2561). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 1-33.

รัตติยา เหนืออำนาจ และคณะ. (2562). การพัฒนาตัวแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 72-88.

ลาวรรณ เหมพิจิตร และภิราช รัตนันต์. (2561). การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(38), 75-88.

วันวิสาข์ พลอยอินสว่าง, ดุสิตพร ฮกทา และอัญชิษฐา กิ้มภู่. (2563). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดตรังอย่างมีส่วนร่วม. (รายงานการวิจัย). กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม : วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยวราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง.

วัลลภ วรรณโอสถ. (2564). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศราวุธ ผิวแดง และคณะ. (2559). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มชาติพันธ์ลุ่มน้ำโขง. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิจิตร. (2562). โครงการสนับสนุนการดําเนินงานยุทธศาสตรสงเสริมชุมชนทองเที่ยว OTOP นวัตวิถี และการจัดประเภทชุมชนทองเที่ยวระดับจังหวัดพิจิตร. (อัดสำเนา)

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสองพ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561). คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. นนทบุรี : บริษัท เพอร์เฟคลิงค์ คอนชัลติ้ง กรุ๊ป จำกัด.