การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานสำหรับงานเชื่อมทิกรอยเชื่อมชนท่อที่สอดคล้องกับมาตรฐานฝีมือแรงงานและข้อกำหนด IIW-IAB 089

Main Article Content

ศิริพงศ์ ลัมภาพิวัฒน์
ชัยยศ ดำรงกิจโกศล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานงานเชื่อมทิกรอยเชื่อมชนท่อตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและข้อกำหนด IIW-IAB 089 และ 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานงานเชื่อมทิกรอยเชื่อมชนท่อตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและข้อกำหนด IIW-IAB 089 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้ 1) การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และ 3) การทดลองนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ช่างเชื่อมที่ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาอาชีพช่างเชื่อม
ทิกรอยเชื่อมฟิลเล็ท และสาขาอาชีพช่างเชื่อมทิกรอยเชื่อมชนแผ่นที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 15 คนได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดฝึกอบรม แบบทดสอบด้านความรู้ระหว่างและหลังการฝึกอบรมแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ แบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่ใช้เกณฑ์ประเมินแบบ Rubric ที่แบ่งเป็น 4 ระดับ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อหลักสูตรฝึกอบรม ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานงานเชื่อมทิกรอยเชื่อมชนท่อ ประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร วัตถุประสงค์การฝึกอบรม ชุดฝึกอบรมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และระยะเวลาในการฝึกอบรม ซึ่งหัวข้อในการฝึกอบรมได้แก่ ความรู้พื้นฐานในงานเชื่อมอาร์ก ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเชื่อมทิก วัสดุและชนิดรอยต่อสำหรับงานเชื่อมทิก การเชื่อมทิกตามมาตรฐานฝีมือแรงงานและมาตรฐานการเชื่อมสากล IIW-IAB089 ในท่าเชื่อม PA PC PH และ H-L045 และการตรวจสอบความสมบูรณ์ของรอยเชื่อมทิก และ 2) หลักสูตรฝึกอบรมประกอบหลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 86.34/82.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคะแนนในการปฏิบัติงานเฉลี่ยร้อยละ 80.21 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ตามมาตรฐานกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

Article Details

How to Cite
ลัมภาพิวัฒน์ ศ. ., & ดำรงกิจโกศล ช. (2023). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานสำหรับงานเชื่อมทิกรอยเชื่อมชนท่อที่สอดคล้องกับมาตรฐานฝีมือแรงงานและข้อกำหนด IIW-IAB 089 . วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 65–80. https://doi.org/10.14456/jra.2023.130
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2558). คู่มือเตรียมทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ สาขาอาชีพช่างเชื่อมทิกระดับ 1 (ภาคความรู้). เข้าถึงได้จาก https://www.dsd.go.th/standard/Region/Doc_ShowDetails/8749

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal. ครุศาสตร์สาร, 15(1), 29-43.

จันทิมา หิรัญอ่อน. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรช่างอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์. วารสาร มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(1), 105-114.

ชัยยศ ดำรงกิจโกศล และอัคครัตน์ พูลกระจ่าง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ขับขี่รถบรรทุกเพื่อการประหยัดพลังงานในธุรกิจการขนส่งสินค้า. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 13(1), 96-105.

ทวีวัฒน์ รื่นรวย, พิสิฐ เมธาภัทร และไพโรจน์ สถิรยากร. (2561) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระบบประเมินคุณภาพและพัฒนาการสอนด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 9(1), 151-160.

ประภาศ เมืองจันทร์บุรี มูหามัด เต๊ะยอ และจรัญ ธรรมใจ. (2560). ผลกระทบของกรรมวิธีการเชื่อมทิกประสิทธิภาพสูงโดยใช้แก๊สแอคทีฟเป็นแก๊สปกคลุมต่อรูปร่างของแนวเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิม 304. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(2), 112-125.

พิมผกา ปัญโญใหญ่ และพีรนุช ลาเซอร์. (2564). การออกแบบการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพ ถอดบทเรียนการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 3(3), 1-18.

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับที่ 1). (2561, ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, หน้า 30-37.

รัชพล กลัดชื่น และกฤช สินธนะกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบผสมผสานตามแผนการสอนฐานสมรรถนะด้วยกระบวนการ MIAP รายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 2(2), 117-127.

รุจา แก้วเมืองฝางและคณะ. (2564). ผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการทำงานเป็นทีม และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(8), 148-162.

วิชาญ โชติกลาง. (2559). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดฝึกเชื่อมทิก เพื่อใช้ฝึกทักษะการเชื่อมในรายวิชางานเชื่อมอาร์กทังสเตนแก๊สคลุม 1 (2103-2005). ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน (น. 252-260). นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.

International Authorisation Board. (2014). Minimum Requirements for the Education, Training, Examination and Qualification of Welding Personnel. Retrieved from www.iiwelding.org