การสำรวจการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ยุทธจักร งามขจิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ติดตามพฤติกรรมการใช้ชีวิต การปรับตัว ความวิตกกังวล และการเรียนรู้ของประชาชน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สู่การปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในจังหวัดราชบุรี 2) พัฒนากระบวนการสร้างการเรียนรู้ในการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในจังหวัดราชบุรี และ 3) หาแนวทางการวางมาตรการป้องกันร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดราชบุรี โดยใช้การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนได้รับผลกระทบและมีการปรับตัวด้านเศรษฐกิจมากที่สุด เนื่องจากถูกลดเวลางานและไม่มีการทำงานนอกเวลา ส่งผลให้รายได้ลดลงเป็นจำนวนมาก 2) กระบวนการสร้างการเรียนรู้ในการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง พบว่า รูปแบบการจัดการชุมชนอย่างมีส่วนร่วมแบบ (บวร) + 3 ออก ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ค้นพบแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อก่อให้เกิดการป้องกันโควิคอย่างมีส่วนร่วมของบ้าน วัดและโรงเรียน และ 3) แนวทางการวางมาตรการป้องกันร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงและหน่วยงานในจังหวัดราชบุรี คือ กระบวนการค้นหาและช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างเกณฑ์กำหนดกลุ่มเปราะบางว่าเป็นใครและควรจะเป็นผู้ที่ใด เพื่อให้มีระบบข้อมูลการให้ความช่วยเหลือกับประชาชนที่ดี สามารถใช้การวิเคราะห์มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นที่ตรงกับลักษณะของกลุ่มเปราะบาง

Article Details

How to Cite
งามขจิต ย. (2023). การสำรวจการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดราชบุรี . วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 207–222. https://doi.org/10.14456/jra.2023.139
บท
บทความวิจัย

References

ราชบัณฑิตยสภา. (2563). ราชบัณฑิต: พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุเทพ เชาวลิต. (2548). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

Emerson, R.M. (1976). Power-Dependence Relations. American Sociological Review, 27(1), 31-41.

Jacqueline, F. (2009). Using Roy Adaptation Model to guide research and/or practice: construction of conceptual-theoretical-empirical system of knowledge. Aquichan, 9(3), 297-306.

Liu, C. H. & Lee, T. (2016). Service quality and price perception of service: Influence on word-of-mouth and revisit intention. Journal of Air Transport Management, 52, 42-54.

Mayne, J. (2015). Useful Theory of Change Models. Canadian Journal of Program Evaluation, 30(2), 119–142.

Morgan, R. M. & Hunt, S. D. (1994). The Commitment-Trust Theory of Relationship Marketing. Journal of Marketing, 58(3), 20-38.

Thailand Development Research Institute. (2020). Turning COVID-19 Crisis into Opportunity to Restore Natural Resources in Tourist Attraction. TDRI Policy Series on Fighting Covid-19. Retrieved From https://tdri.or.th/issue/covid-19.

Ursavaş, E. F., Karayurt, O. & İşeri, O., (2014). Nursing approach based on Roy Adaptation Model in patient Understanding breast conserving surgery for breast cancer. J Breast Health, 10(3), 134–140.

World Economic Forum. (2020). Shaping the Future of the New Economy and Society. Retrieved from https://www.weforum.org/platforms/shaping-the-future-of-the-neweconomy-and-society.

Yoddamnoen-Ettics, B. & Tungchonlathip, K. (2009). Analyzing qualitative data: Data management interpretation and clarification. Nakorn Pathom : Mahidol University.