รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียน ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบริหารงานวิชาการ 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2 การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพบริหารงานวิชาการ ประชากร จำนวน 1,217 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน โดยการจัดสนทนากลุ่ม และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านความถูกต้อง เหมาะสมความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษา ผลการดำเนินการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.90, S.D.=.731) พิจารณารายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสื่อและการเรียนการสอน รองลงมา ได้แก่ ด้านประกันคุณภาพการศึกษา และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผล 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 6 รูปแบบคือ 1) ด้านหลักสูตรตามหลักอิทธิบาท 4 2) ด้านการเรียนการสอน ตามหลักอิทธิบาท 4 3) ด้านสื่อและการเรียนการสอน ตามหลักอิทธิบาท 4 4) ด้านการวัดผลและประเมินผลตามหลักอิทธิบาท 4 5) ด้านการนิเทศภายในตามหลักอิทธิบาท 4 6) ด้านประกันคุณภาพการศึกษา ตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนประถมศึกษา ด้านความถูกต้อง เหมาะสมความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและเป็นประโยชน์ ภาพรวมทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในดีมาก ( = 4.63, S.D.=.518)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ชำนาญ บุญวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ประภาศิริ คูนาคำและคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(2), 58-70.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (3). (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 119 ตอนที่ 123ก, หน้า 16.
สุชาติ วิริยะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.