การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบัญชีเบื้องต้น 2 เรื่อง งบการเงิน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นัฐธยาน์ เมธาก้องศิริกุล
ศิริพร พึ่งเพ็ชร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนบัญชีเบื้องต้น 2 เรื่อง งบการเงินของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนบัญชีเบื้องต้น 2 เรื่อง งบการเงิน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น โดยออกแบบการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง งบการเงิน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง งบการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test Dependent Group และ t-test One Sample Group ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนบัญชีเบื้องต้น 2 เรื่อง งบการเงิน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 15.667, p < .000) โดยก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 6.57 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.54 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 15.97 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.87 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนบัญชีเบื้องต้น 2 เรื่อง งบการเงิน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.97 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.753, p < .001)

Article Details

How to Cite
เมธาก้องศิริกุล น. ., & พึ่งเพ็ชร์ ศ. (2023). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบัญชีเบื้องต้น 2 เรื่อง งบการเงิน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 . วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 195–206. https://doi.org/10.14456/jra.2023.138
บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ กาญจนะ. (2553). เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 2. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิรุทธิ์ อุทาทิพย์. (2564). ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์. เข้าถึงได้จาก https://sp.moe.go.th

บริษัท เอ.เอ็ม.ที. แอคเคานท์แทนซี่ จำกัด. (2562). ความสำคัญของการทำบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ. เข้าถึงได้จาก https://www.amtaccount.com/ความสำคัญของการทำบัญชี/

ไพศาล หวังพานิช. (2563). การวัดและการประเมินผลการเรียน. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ภัทรภร ลิ่มเจริญ. (2564). รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติตามองค์ประกอบของทักษะร่วมกับชุดฝึกทักษะ เรื่อง การวิเคราะห์รายการค้า ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติของนักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับชั้นปีที่ 1. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 (น.2264-2276). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

มลทิชา หมื่นสีพรม. (2563). การพัฒนาทักษะปฏิบัติในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(2), 36-46.

โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา”. (2552). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2552. (อัดสำเนา)

โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา”. (2564). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564. (อัดสำเนา)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ที่เน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2545). การจัดการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

Okolocha, C.C. & Nwaukwa, F. (2020). Effect of Think-Pair-Share Instructional Strategy on Secondary School Students’ Academic Achievement and Retention in Financial Accounting in Abia State. ISJASSR, 2(3), 52-66.