การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ : หาบเร่ แผงลอย
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ
กลุ่มหาบเร่ แผงลอย เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบให้มีหลักประกัน
ความมั่นคงและสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐที่รับรองสิทธิไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยวิธีการดำเนินการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารกฎหมายไทยและต่างประเทศ การสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลวิจัยพบว่า แรงงานนอกระบบกลุ่มหาบเร่ แผงลอย ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศแต่ไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายฉบับใดรองรับสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบที่เกี่ยวกับมาตรฐานด้านรายได้ การว่างงาน และสงเคราะห์บุตร แม้ว่าพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะเปิดช่องให้แรงงานนอกระบบสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับแรงงานในระบบ เนื่องจากเป็นผู้อยู่ในสถานะยากจนและด้อยโอกาสการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้ขาดการส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพจากภาครัฐ ขาดหลักประกันความมั่นคงในชีวิต ด้วยเหตุนี้ รัฐเห็นถึงความสำคัญจึงได้กำหนด "ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาแรงงาน
นอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. ...." โดยกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบ แต่ยังไม่มีกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบัญญัติให้อำนาจหน้าที่แต่อย่างใด
ข้อเสนอแนะ ควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย 5 ฉบับได้แก่พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 45 (7 จัตวา) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (7/1) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 67 (6/1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 มาตรา 67 ทวิ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 89 (25 ทวิ) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีอำนาจในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ประกาศ หรือระเบียบ เพื่อรองรับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. ....เมื่อมีผลประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). รายงานการสำรวจแรงงานนอกระบ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2566, จาก : http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/Informal_work_force/2564/summary_64.pdf
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 9มีนาคม 2566, จากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13081
ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10). (2562). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136,ตอนพิเศษ 316 ง, หน้า 65.
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533. (2533). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 107, ตอนที่ 161, หน้า 1.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. (2559). ราชกิจจานุเบกษ, เล่ม 133, ตอนที่ 115 ก, หน้า 1.
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (2561). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135, ตอนที่ 82 ก,หน้า 1.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134,
ตอนที่ 40 ก, หน้า 1.
International Labour Standard Group. (2015). ข้อแนะฉบับที่ 204 ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจนอกระบบเป็นในระบบ ค.ศ. 2015. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2564, จาก : Http:// Ils.labour.go.th/Images/Stories/%20204.Pdf.
International Labour Organization. (1952). C102-Social Security (Mimimum Standards)Convention,1952. Retrieved July 25, 2022, from :Https://www.Ilo.org/Dyn/Normlex/En/f?P=NORMLEXPUB:12100:0::NO::P12100_ILO_CODE:C102.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองนิติการ. (2562). ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
การพัฒนาแรงงานนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. .... สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2564, จาก : Https://Legal. labour.go.th/Images/Law/Draft/Informal_001.Pdf.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์
ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2565, จาก : Https://www.nesdc.go.th/Ewt_dl_link.Php?Nid=11972.
พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไข แห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564. (2564). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 138, ตอนที่ 42 ก, หน้า 1.
Bundesrepublik Deutschland. (2022). Sozialgesetzbuch(SGB) ViertesBuch(IV)—GemeinsameVorschriftenfür die Sozialversicherung—(Artikel I des Gesetzesvom23. Dezember 1976, BGBl. I S. 3845). Retrieved August 22, 2022, from:Https://Www.Gesetze-Im-Internet.de/Sgb_4/BJNR138450976.Html.
สำนักวิจัยเศรษฐกิจและประเมินผล บริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสเนสแมเนจเม้นท์ จำกัด. (2557). โครงการจัดทำฐานข้อมูลสวัสดิการแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน: รายงานฉบับสมบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564, จาก :Https://www.car.chula.ac.th/Display7.Php?Bib=b2048139.
สำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์, สำนักงานกิจการแรงงาน. (2559). แรงงานนอกระบบของประเทศสิงคโปร์. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563, จาก : Https://Singapore.Mol.Go.Th/News/.
กองสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำฐานข้อมูลสวัสดิการแรงงานของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564, จาก : Http://welfare.labour.go.th/Index.Php/2014-08-25-08-28-13/50-2015-02-25-07-56-35.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองนิติการ. (2562). ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและการพัฒนาแรงงานนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. .... สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2564, จาก : Https://legal.labour.go.th/Images/Law/Draft/Informal_001.Pdf.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 16, ตอนที่ 114 ก, หน้า 48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว