การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษานักศึกษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพของอาจารย์พยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
คำสำคัญ:
รูปแบบการให้คำปรึกษา, ประสิทธิภาพ, อาจารย์พยาบาลบทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษานักศึกษาที่มีประสิทธิภาพของอาจารย์พยาบาล ดำเนินวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการให้คำปรึกษานักศึกษาที่มีประสิทธิภาพของอาจารย์พยาบาล ด้วยวิธีการสนทนากลุ่มและประเมินความเหมาะสม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ชนิดมาตราส่วน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การประเมินรูปแบบการให้คำปรึกษานักศึกษาที่มีประสิทธิภาพของอาจารย์พยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้รับผิดชอบงานแนะแนว และอาจารย์พยาบาล จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ชนิดมาตราส่วน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- รูปแบบการให้คำปรึกษานักศึกษาที่มีประสิทธิภาพของอาจารย์พยาบาล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ปัจจัยนำเข้า 4) กระบวนการ 5) ประสิทธิภาพ และ 6) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมาก
- ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ พบว่า มีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กฤตวรรณ คำสม. (2554). การศึกษาและการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาในการให้คำปรึกษาแก่เพื่อน[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. Srinakharinwirot University Institutional Repository. https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/2332
ชนม์ณภัทร เจริญราช. (2560). การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาวิชาการแก่นักศึกษาในหมู่เรียน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 103-118. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournalpnru/article/view/245648
ณัฏฐ์ชยธร ศรุดาธิติพัทธ์. (2553). การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาวิชาการระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
ธวัช สอนง่ายดี, จิติมา วรรณศรี, วิทยา จันทร์ศิลา, และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2566). รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(6), 2165-2178. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/264122
ปาริชาต รัตนราช, รสวลีย์ อักษรวงศ์, และวิริณธิ์ กิตติพิชัย. (2559). การพัฒนารูปแบบการให้ความช่วยเหลือและการให้คำปรึกษานักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(1), 47-58. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/7584
พระราชบัญญัติของสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562. (2562, 5 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 43ก. หน้า 40-65.
ไพรัช วงศ์ศรีตระกูล. (2554). ความเครียดและความวิตกกังวลของนักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 5(9), 23-32.
มัลลวีร์ อดุลวัฒนศิริ (2554). เทคนิคการให้คำปรึกษา: การนำไปใช้. คลังนานา.
มานะ สินธุวงษานนท์, นัฐยา บุญกองแสน, และ กชกร หวังเติมกลาง. (2566). การศึกษากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(5), 527-544.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2550). TQM คู่มือพัฒนาองค์กร สู่ความเป็นเลิศ. เนชั่นบุ๊คส์.
วิสุทธิ์ โนจิตต์, นภัสสร ยอดทองดี, วงเดือน เล็กสง่า, และปารวีร์ มั่นฟัก. (2020). ปัจจัยทำนายความเครียดและวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 10(1), 118-128.
ศรัณย์ เปรมสุข, อนุชา กอนพ่วง, รัตนะ บัวสนธ์, และปกรณ์ ประจันบาน. (2567). การพัฒนารูปแบบบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา. Journal of Education and Innovation, 26(1), 303-320. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/269533
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ และคณะ. (2554). การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. อักษรเจริญทัศน์.
สามารถ อัยกร. (2561). บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. Journal of Nakhon Ratchasima College, 10(2), 423-434.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2564, 21 เมษายน). SDGs คืออะไรมารู้จัก 5 เป้าหมายแรกจากมิติสังคม. https://www.nxpo.or.th/th/8081
อนุสรา บุตรเพ็ง. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(63), 85-96. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/81825
อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ และรพีพร ตันจ้อย. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสำหรับการบริหารสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(ฉบับพิเศษ), 253-260. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/39191
Eisner, E. W. (1976). Educational Connoisseurship and Criticism: Their form and Functions in Educational Evaluation. Journal of Anesthetic Educational, 10(3/4), 135-150. https://doi.org/10.2307/3332067
Porter-O’ Grady, T. (1986). Introduction to evidence-base practice in nursing and health care. Jones and Bartlett.
Sonpaveerawong, J., Tieadyor, P., Plookmaidee, J., Thingsuk, S., Sudsawat, S., & Songpra, K. (2016). Happiness of Walailak University students. Songklanagarind Medical Journal, 34(5), 269-279. http://smj.medicine.psu.ac.th/index.php/smj/article/view/8
Wannasri, J. (2014). Academic administration in schools. Rattanasuwan Printing.