ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ฐิติชญาน์ คงชู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ภัทริณี คงชู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, ความสุขในการเรียน, นักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของความสุขในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัยพบว่า

1) นักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ มีระดับความสุขในการเรียนอยู่ในระดับมาก (x̅=4.22, S.D. = 0.50)  

2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ คือ ปัจจัยด้านครอบครัว (X2), ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน (X4), ปัจจัยด้านเพื่อนร่วมชั้นเรียน (X5), และปัจจัยด้านผู้สอน (X6)   สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้

สมการพยากรณ์รูปแบบคะแนนดิบ

Ŷ=1.01+0.16X₂+0.18X₄+0.20X₅+0.24X₆          

          สมการพยากรณ์รูปคะแนนแบบมาตรฐาน   Ẑ=0.17Z₂+0.18Z₄+0.27Z₅+0.27Z₆

References

จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์, มัชฌิมา ดำมี, จันทร์จิรา นิ่มสุวรรณ, ชุติมา หมัดอะดัม, ศุภารัตน์ ละเอียดการ, แลtสุชาวดี โสภณ. (2559). ความเครียด การจัดการความเครียดและความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(3), 36-50. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ JNAE/article/view/67925

จีรทัช ใจจริง, ธนิต โตอดิเทพย์, ภารดี อนันต์นาวี, และเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(1), 29-47. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournal/article/view/198232

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). การแปลผลการวิเคราะห์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

ณัชพล ศิริชัยนฤมิตร. (2567, 12 กุมภาพันธ์). มุมมองศิษย์เก่ากับการจัดการความเครียด 101 [Season 3] Special Ep: ณัชพล ศิริชัยนฤมิตร (พี่วิน). คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://www.law.tu.ac.th/มุมมองศิษย์เก่ากับการจ/

ปัทมา ทองสม. (2554). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(1), 88-111. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAE/article/view/1561

ฝ่ายนโยบายและแผน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (2565). แผนยุทธศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2566-2570. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.https://hss.nsru.ac.th/

storage/fileplans/September2022/PUtJFVDv5lx3ftrAFV2K.pdf

เพาพะงา จิตต์สวาสดิ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace Repository. https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/946

ภัทรกันย์ ติเอียดย่อ, ภัทรกันย์ ติเอียดย่อ, จันทนี ปลูกไม้ดี, ศรัญญา ทิ้งสุข, สุพรรษา สึดสวาท และกนกพร สงปราบ. (2559). ความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 34(5), 269-279.

รพีพร เตมีศักดิ์. (2558). การศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สายทิพย์ แก้วอินทร์. (2563). การเรียนรู้อย่างมีความสุข กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Rodcharoen, N, & Lueboonthavatchai, P. (2019). Stress and associated factors in undergraduate students of Faculty of Law of a university in Bangkok. Chula Med Bull, 1(3), 261-276. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/clmb/article/view/167448

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30