ความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

จักรพงษ์ ฟองชัย
พรสวรรค์ สุตะคาน
ไพรัช พื้นชมภู
พระสุริยา หงส์ชุมแพ
พระวุฒิพงษ์ แก้วแกมดา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จำแนกตามเพศ สถานภาพ การศึกษา อายุ และรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อปี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชน จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน t - test, One - Way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับของความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับความพอใจมาก ด้านที่มีระดับความพึงพอใจมาก ได้แก่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการด้านระยะเวลาการให้บริการประชาชน และด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ตามลำดับ และด้านที่มีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการให้บริการอย่างเสมอภาค
2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำแนกตามเพศ สถานภาพ การศึกษา อายุ และรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อปี โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรรณิกา แผงดา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 2560 กรณีศึกษา ผู้ที่มาลงทะเบียนในธนาคารกรุงไทย สาขาคลองสามวา. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ไทยคู่ฟ้า. (2561). มาตรการสวัสดิการแห่งรัฐนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน. วารสารไทยคู่ฟ้า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 1-42.

ธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2546). นโยบายสาธารณะ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุ่งทิพย์ บุตรดี. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการงานสวัสดิการสังคมของเทศบาลตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง. (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวรรณี แย้มพราย และปรีชญาณ์ นักฟ้อน. (2562). การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ: กรณีศึกษาเขตลาดกระบัง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(1), 136-145.

อิงทิตา วงศ์จินดา และจิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การศึกษาความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, Third edition. New York: Harper and Row Publication.